นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว และศูนย์กลางโลจิสติกส์
BCG Industrial Park & Logistics Hub

ที่มาและความสำคัญ

        จังหวัดลำปางมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) อยู่ที่ 71,417 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่และไฟฟ้า ประมาณ 15,793 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 22% ของ GPP จังหวัดลำปาง และสืบเนื่องจากกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะลดลงกว่าครึ่งในอีกสามปีข้างหน้าและจะหยุดเดินระบบในปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดลำปางในภาพรวมจึงจำเป็นต้องมีการทดแทนการสูยเสียที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของจังหวัดลำปางในอนาคต อย่างไรก็ตาม พื้นที่อำเภอแม่เมาะ และจังหวัดลำปางมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แหล่งพลังงานสะอาด ศูนย์กลางในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากพื้นที่สู่ภูมิภาคอื่น ด้วยทำเลที่ตั้งที่ติดต่อกับอีก 7 จังหวัด สามารถเชื่อมโยงทั้งพลังงานสีเขียว อุตสาหกรรมสีเขียวสอดคล้องกับนโยบาย BCG Model  ทั้งนี้ การพัฒนาดังกล่าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างให้ลำปางเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญา และนวัตกรรมท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
  2. เพื่อให้เกิด แหล่งผลิตพลังงานสะอาดในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อป้อนเข้าสู่ นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว
  3. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Park) ในเขตภาคเหนือ
  4. เพื่อให้เกิด Container Yard เชื่อมโยงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม สีเขียว ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เพื่อต่อยอดสู่การเป็น Logistics and Wholesale Hub

ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)

  • ภาคพลังงาน
  • ภาคอุตสาหกรรม
  • ภาคขนส่ง
  • ภาคเกษตรและอาหาร
  • ภาคการท่องเที่ยว

ผลลัพธ์

  • เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมสีเขียว ของระดับภูมิภาค GPP ของจังหวัดลำปาง เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 150,000 ล้านบาท ภายในปี 2570

ระยะเวลาในการดำเนินงาน : 5 ปี

งบประมาณ : 20,000 ล้านบาท