ยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร

    ส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร ที่มีความรับผิดชอบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการใช้เทคโนโลยีในการเสริมสร้างฐานการผลิตที่เข้มแข็ง ปรับใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต เพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหารอย่างยั่งยืนซึ่งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมไปถึงเสริมสร้างโอกาสและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรท้องถิ่น จากการเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์และการบริการ เพื่อให้เกิดความมั่งคั่งและชีวิตความเป็นอยู่ในชุมชนและสังคมที่ดีขึ้น

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อบุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพและตลาดอาหารยั่งยืนใน NEC
  2. เพื่อสร้างระเบียงอุตสาหกรรมการเกษตรสีเขียวตลอดห่วงโซ่อุปทาน
  3. เพื่อประกันคุณภาพและมาตรฐานสำหรับผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อการส่งออกในระดับสากล
  4. เพื่อสนับสนุนการเกษตรในเมืองเพื่อความยั่งยืนด้านการเกษตรและอาหาร
  5. เพื่อส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในการพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรอัจฉริยะอย่างยั่งยืน
  6. เพื่อสนับสนุนการศึกษาและสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรต่าง ๆ ในการเป็นศูนย์กลางนวัตกรรมด้านการเกษตร

ตัวชี้วัด

  1. โครงการและผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรม
  2. อัตราการขยายตัวของมูลค่าสินค้าเกษตร
  3. ผลิตภาพการผลิตของภาคเกษตร
  4. ดิจิทัลแพลตฟอร์มและโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนการเกษตรยั่งยืน เกษตรปลอดภัย เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ
  5. ความร่วมมือของภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน
  6. การจ้างงานมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและสังคม
  7. ผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารที่ได้รับรองคุณภาพและมาตรฐาน
  8. ดัชนีการหมุนเวียนวัสดุทางการเกษตร

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จึงต้องประกอบไปด้วย 4 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

บุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และตลาดอาหารที่มีความยั่งยืน (A1)

แนวทางที่ 2

พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกที่ยั่งยืน (A2)

แนวทางที่ 3

มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ (A3)

แนวทางที่ 4

ผลักดันการสร้างฮับนวัตกรรมด้านการเกษตร (A4)