วิสัยทัศน์

"พื้นที่ระเบียงฯ ภาคเหนือ เป็นศูนย์กลางการพัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีต่อยอดทุนทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนาสังคม และการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม"

แผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ
ด้วยแนวคิด BCG Economy

        ประเทศไทยอยู่ภายใต้สภาวะที่ต้องเผชิญความเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายประการ และอยู่ภายใต้แรงกดจากสถานการณ์ที่มีความผันผวนสูง ทั้งจากเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตและการดำเนินธุรกิจอย่างมีนัยสำคัญ การเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้น ตลอดจนสถานการณ์ความขัดแย้งทางเศรษฐกิจ เมื่อผนวกเข้ากับสถานการณ์โควิด 19 นั้นส่งผลให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศลดลง ธุรกิจที่ต้องปิดกิจการ วิกฤตการว่างงาน ทำให้สินค้าและบริการไม่สอดคล้องกับความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของตลาด

           จากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ทุกภาคส่วนต้องมีการปรับตัวอย่างเร่งด่วน ทั้งในระดับท้องถิ่น ภูมิภาค และระดับประเทศในการยกระดับทักษะบุคลากร กำหนดแผนและแนวทางนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในภาคอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาธุรกิจเดิมที่มีศักยภาพ และขับเคลื่อนธุรกิจใหม่มุ่งสู่อุตสาหกรรมอนาคต (New S- curve) ที่มีมูลค่าสูงเชื่อมโยงและขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวให้พร้อมแข่งขันในประเทศและระดับสากล สร้างมูลค่าเพิ่มและการกระจายรายได้อย่างยั่งยืน

          การพัฒนาเศรษฐกิจโดยอาศัย BCG Model นั้นเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ที่เร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึง บนฐานการพัฒนาทียั่งยืน มุ่งเน้นการสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจกับความยั่งยืนของฐานทรัพยากรธรรมชาติผ่านการนำองค์ความรู้มาต่อยอดฐานความเข้มแข็งภายในของประเทศไทย คือความหลากหลายทางชีวภาพและผลผลิตทางการเกษตรที่อุดมสมบูรณ์ พร้อมกับปรับเปลี่ยนระบบการผลิตไปสู่การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อรักษาความมั่นคงทางวัตถุดิบ ความสมดุลของสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการขยายเศรษฐกิจและเชื่อมโยงกับภูมิภาค

โดยที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ (กพศ.) ครั้งที่ 2/2565

          ได้มีมติเห็นชอบในเรื่องของการกําหนดกิจการเป้าหมายและ สิทธิประโยชน์สำหรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 4 ภาค โดยในส่วนของภาคเหนือนั้นได้มีการดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาแผนแม่บทเพื่อพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC) ด้วยแนวคิด BCG Economy เพื่อสร้างเครือข่ายกิจกรรมเศรษฐกิจให้เป็นพื้นที่เชื่อมโยงพัฒนา และประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นให้เป็นไปอย่างมีแบบแผนและมีทิศทาง ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน และลำปาง ซึ่งมีตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ที่มีความได้เปรียบ ส่งผลให้แต่ละพื้นที่มีความโดดเด่นและมีเอกลักษณ์ไม่เหมือนกัน เช่น

  1. จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภาคเหนือ
  2. จังหวัดเชียงราย ซึ่งมีพื้นที่ที่ติดกับชายแดน ทำให้มีจุดเด่นด้านการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน
  3. จังหวัดลำพูน ซึ่งเป็นแหล่งที่ตั้งของอุตสาหกรรมเช่น อุตสาหกรรมส่งออก และอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
  4. จังหวัด ซึ่งเป็นจุดเชื่อมโยงของการขนส่งระหว่างภาคกลางและภาคเหนือ

          เพื่อเป็นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ เป็นแหล่งผลิตสินค้าและบริการที่ต่อยอดจากฐานวัฒนธรรมล้านนา ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นร่วมกับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยมีการกำหนดคลัสเตอร์เป้าหมายตามมติ ครม. ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  2. อุตสาหกรรมท่องเที่ยว และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  3. อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร
  4. อุตสาหกรรมดิจิทัล

แผนแม่บทการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือด้วยแนวคิด BCG Economy

เป็นแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่ ว่าด้วยการเร่งให้เศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างทั่วถึง บนรากฐานการพัฒนาที่ยั่งยืน เพื่อให้เกิดการปรับตัวที่สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงและแรงกันดันจากสถานการณ์ที่มีความผันผวนได้ทั้งในและนอกประเทศไทย ประกอบไปด้วย 4 ยุทธศาสตร์ 15 แนวทาง และ 46 แผนงาน รายละเอียดดังนี้

เป้าประสงค์

จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มขึ้น จาก 17 ล้านคน เป็น 30 ล้านคน

การค้าและการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายเพิ่มขึ้น 100%

Gross Provincial Product
ผลิตภัณฑ์มวลรวมของจังหวัดใน NEC เพิ่มขึ้นเป็น 1 ล้านล้านบาท ใน 10 ปี โดยมีสัดส่วน

บริการและท่องเที่ยว 60%
อุตสาหกรรม 20%
การเกษตร 20%

ตัวชี้วัดการพัฒนาระดับจังหวัดเฉลี่ย 4 จังหวัดเพิ่มขึ้น 10% จาก 48.79 (2564)

จำนวนโครงการด้านความยั่งยืนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

จำนวนสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับ BCG และ Creative LANNA เพิ่มมากขึ้น