เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงมรดก (T2)

    ผลักดันรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยความร่วมมือจากภาครัฐ เอกชนรวมถึงภาคประชาชน อาศัยทรัพยากรการท่องเที่ยวที่มีความโดดเด่นของภูมิภาค ทั้งด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประเพณี ศิลปะ วัฒนธรรม ภูมิปัญญาและวิถีชุมชน ยกระดับศักยภาพในการส่งมอบคุณค่าและประสบการณ์เชิงวัฒนธรรม รวมถึงการบริการและการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงการอนุรักษ์ชุมชนและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้พื้นที่ภูมิภาคกลายเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญของนักท่องเที่ยว ประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

สนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์รูปแบบดิจิทัล (T2.1)

สนับสนุนการนำเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีส่วนร่วมในการนำเสนอการจัดการและอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว โดยนำเสนอการสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวรูปแบบใหม่ที่มีความทันสมัยและมีศักยภาพ ออกแบบโปรแกรมการท่องเที่ยว ที่ทำให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมกับเนื้อหา โดยสามารถปรับเปลี่ยนรูปแบบการท่องเที่ยวให้ตรงตามประสบการณ์ที่ต้องการได้รับ สัมผัสประสบการณ์เชิงลึกตามความต้องการได้อย่างเจาะจง สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลกที่มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เข้ามามีบทบาทในอุตสาหกรรม เพื่อให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงการบริการได้สะดวกและสัมผัสประสบการณ์การท่องเที่ยวได้อย่างครอบคลุม ประกอบด้วยแผนงานย่อย ได้แก่

  • แผนงานย่อยที่ 1: โครงการท่องเที่ยวอัจฉริยะ

ให้การช่วยเหลือสนับสนุนการการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาช่วยในการจัดการและการบริการการท่องเที่ยวอย่างครบวงจร รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีความจำเพาะเจาะจงต่อการท่องเที่ยว มีระบบการท่องเที่ยวที่สามารถแนะนำ ออกแบบโปรแกรมทัวร์แก่นักท่องเฉพาะบุคคลได้หรือสามารถนำเสนอข้อมูลการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมทันเวลาต่อความต้องการ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวให้ได้รับประสบการณ์ที่มีคุณค่า ตัวอย่างเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น แผนที่อิเล็กทรอนิกส์ การวางแผนการเดินทางครบวงจรและความจริงต่อขยาย (Extended Reality)

  • แผนงานย่อยที่ 2: โครงการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์

ส่งเสริมการออกแบบการท่องเที่ยวที่สามารถได้รับประสบการณ์ทางวัฒนธรรมผ่านการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลตลอดจนการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวดิจิทัลที่ออกแบบมาสำหรับแต่ละบุคคล ให้นักท่องเที่ยวสามารถเข้าถึงการเรียนรู้และสัมผัสการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำเสนอรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลายด้วยเทคโนโลยี เช่น การเรียนรู้ประวัติศาสตร์เชิงลึก การท่องเที่ยวเสมือนจริง ที่สามารถช่วยสนับสนุนให้พื้นที่ท่องเที่ยวในภูมิภาคมีความน่าดึงดูดมากยิ่งขึ้น

แผนงานที่ 2

ประชาสัมพันธ์สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ (T2.2)

ทำการสำรวจและรวบรวมข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญในภูมิภาคโดยปรับข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นรูปธรรม เช่น โบราณสถาน วัด พิพิธภัณฑ์ อาคารทางประวัติศาสตร์ ชุมชน และแหล่งท่องเที่ยวนามธรรม เช่น ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี ภูมิปัญญาและงานฝีมือแบบดั้งเดิม โดยจัดทำเป็นชุดข้อมูลและประชาสัมพันธ์ให้แก่นักท่องเที่ยวผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ที่ผู้คนสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกและทันสมัย เพื่อสร้างการรับรู้มากขึ้น

แผนงานที่ 3

พัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม (T2.3)

ส่งเสริมการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวในแหล่งท่องเที่ยวสำคัญต่าง ๆ ในภูมิภาคให้กลายเป็นการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพิ่มคุณค่าของแหล่งท่องเที่ยวด้วยการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วม ให้นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัสประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและภูมิปัญญาของท้องถิ่น รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการสนับสนุนชุมชน สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ภายใต้เงื่อนไขการรักษาไว้ซึ่งอัตลักษณ์และมรดกท้องถิ่น ตลอดจนไม่สร้างผลกระทบด้านลบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม

แผนงานที่ 4

นำเสนอความหลากหลายของอาหารท้องถิ่นและการท่องเที่ยวเชิงอาหาร (T2.4)

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารในระดับท้องถิ่น สร้างโอกาสจากชื่อเสียงที่โดดเด่นในเรื่องของอาหารของประเทศไทย ทำการประชาสัมพันธ์เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวให้เดินทางท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่นต่าง ๆ ช่วยนำเสนออาหารท้องถิ่นที่มีเอกลักษณ์ที่แตกต่างกันตามวัฒนธรรมและวัตถุดิบของแต่ละพื้นที่ สร้างประสบการณ์ทางอาหารที่หลากหลายแก่นักท่องเที่ยว ส่งเสริมร้านอาหารให้ได้มาตรฐานและเป็นที่รู้จัก เพื่อกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วยวิธีต่าง ๆ เช่นการซื้ออาหารหรือผลิตภัณฑ์ในพื้นที่กลับไปด้วย อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระจายรายได้ทางอ้อมสู่ภาคการเกษตรท้องถิ่น ประกอบด้วยแผนงานย่อย ดังนี้

แผนงานย่อยที่ 1: ฟื้นฟูตลาดท้องถิ่น

สนับสนุนการลงทุนเพื่อฟื้นฟูแหล่งท่องเที่ยวกลุ่มตลาดอาหารท้องถิ่นหรือตลาดสตรีทฟู้ดซึ่งได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่า 2019 ให้กลับมาเป็นแหล่งรวมอาหารและวัตถุดิบท้องถิ่นที่สำคัญ นักท่องเที่ยวสามารถสัมผัส ประสบการณ์ทางอาหารได้อย่างครบวงจร และเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สะท้อนวิถีชีวิตของชุมชนได้ โดยคำนึงถึงการรักษาเอกลักษณ์ของชุมชนและสิ่งแวดล้อม ช่วยเหลือการพัฒนาตลาดให้มีการจัดการตลอดห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนแบบมีส่วนร่วม

แผนงานย่อยที่ 2: นำเสนอประสบการณ์เชิงอาหาร

สร้างความร่วมมือและสนับสนุนผู้ประกอบการ ผู้เชี่ยวชาญหรือเชฟชื่อดังด้านอาหารที่มีบทบาทสำคัญในอุตสาหกรรมอาหาร โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นหรืออาหารที่ใช้วัตถุดิบท้องถิ่นเพื่อนำเสนอประสบการณ์ทางอาหารที่แปลกใหม่ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์การรับประทานอาหารที่เป็นเอกลักษณ์ท้องถิ่น ตลอดจนการผสมผสานระหว่างอาหารประเภทต่าง ๆ เข้าด้วยกัน สร้างความน่าสนใจและเพิ่มแรงดึงดูดนักท่องเที่ยวผ่านความแปลกใหม่ของวัฒนธรรมอาการ เช่น

  • อาหารผสมผสาน (Fusion Food)
  • ร้านอาหารรูปแบบ Farm-to-table

แผนงานย่อยที่ 3: สนับสนุนและผลักดันกิจกรรมอาหารท้องถิ่น

ส่งเสริมการจัดกิจกรรมและให้การสนับสนุนกิจกรรมที่ช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร โดยเฉพาะอาหารท้องถิ่นหรืออาหารที่ใช้ทรัพยากรท้องถิ่นที่สะท้อนเอกลักษณ์ของภูมิภาค วางแผนรวมกันจากทั้งทุกภาคส่วน เปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวได้เติมเต็มประสบการณ์และสัมผัสกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงอาหารอันหลากหลาย เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวด้วยจุดเด่นของภูมิภาค และยังเป็นการกระจายรายได้ไปยังผู้ประกอบการท้องถิ่นทั้งในทางตรงและทางอ้อม ตัวอย่างการจัดกิจกรรม เช่น

  • เทศกาลอาหาร
  • ทัวร์ท่องเที่ยวเชิงอาหาร
  • หลักสูตรเรียนการทำอาหาร

แผนงานที่ 5

จัดเทศกาลทางวัฒนธรรมและกิจกรรมประเพณีท้องถิ่นตลอดปี (T2.5)

สนับสนุนการจัดงานเทศกาลหรือกิจกรรมที่สะท้อนถึงอัตลักษณ์ทางประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม ประเพณีและวิถีชีวิต ของท้องถิ่นที่มีความเชื่อมโยงของเรื่องราวในพื้นที่เศรษฐกิจล้านนาร่วมกัน ภายใต้เงื่อนไขการอนุรักษ์มรดกท้องถิ่น สร้างการรับรู้เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ต้องการสัมผัสประสบการณ์การมีส่วนร่วม เข้าไปเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และสัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ ที่สอดรับตามกระแสความต้องการของนักท่องเที่ยว เช่น การจัดเทศกาลแสดงงานศิลปะ อาหาร งานประดิษฐ์ ดนตรี หรือวัฒนธรรม โดยดำเนินการอย่างเป็นระบบตามรูปแบบการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน

แผนงานที่ 6

นำเสนอกิจกรรมสัมผัสประสบการณ์ทางวัฒนธรรมอย่างสมจริง (T2.6)

ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมที่มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมในวัฒนธรรมของชุมชนผ่านกิจกรรม ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส ชื่นชม เข้าร่วม เรียนรู้ประสบการณ์ทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวในแต่ละพื้นที่โดยตรง โดยเฉพาะการมีส่วนร่วมกับชุมชนเจ้าของวัฒนธรรม เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชน ให้ความสำคัญกับการสัมผัสคุณค่าและเกิดความรู้สึกร่วมในวัฒนธรรมท้องถิ่นจากประสบการณ์ที่ได้รับจากการมีส่วนร่วมปฏิบัติ ตัวอย่างเช่น

  • การฝึกอบรมงานศิลปะแบบดั้งเดิม
  • หลักสูตรเรียนทำอาหาร
  • การมีส่วนร่วมการแสดงทางวัฒนธรรม

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 2 การยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ จึงต้องประกอบไปด้วย 4 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

เป็นจุดหมายของการดูแลสุขภาพและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในเอเชีย (T1)

แนวทางที่ 2

เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมเชิงมรดก (T2)

แนวทางที่ 3

มุ่งสู่การท่องเที่ยวที่ยั่งยืนและรับผิดชอบต่อสังคม (T3)

แนวทางที่ 4

เป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญสำหรับการท่องเที่ยวเชิงธุรกิจ MICE (T4)