ยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

   พัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ให้พื้นที่ให้เติบโตขึ้น ซึ่งครอบคลุมนิยาม ที่สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) กำหนดไว้ ประกอบด้วย 4 กลุ่ม รวม 12 สาขา 

  1. กลุ่มรากฐานทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์(Creative Originals) ได้แก่ งานฝีมือและหัตถกรรม (Craft), ดนตรี (Music), ศิลปะการแสดง (Performing Arts) และทัศนศิลป์ (Visual Arts)
  2. กลุ่มคอนเทนต์และสื่อสร้างสรรค์(Creative Content/Media) ได้แก่ ภาพยนตร์ (Film), การแพร่ภาพและกระจายเสียง (Broadcasting), การพิมพ์ (Publishing), และซอฟต์แวร์ (เกมและแอนิเมชัน) (Software: Game and Animation)
  3. กลุ่มบริการสร้างสรรค์(Creative Services) ได้แก่ การโฆษณา (Advertising), การออกแบบ (Design) และสถาปัตยกรรม (Architecture)
  4. กลุ่มสินค้าสร้างสรรค์(Creative Goods/Products) ซึ่งได้ แก่สินค้าแฟชั่น (Fashion)

    พัฒนาผ่านการฟื้นฟู สร้างสรรค์ต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าและบริการ ผลักดันและให้ความช่วยเหลือผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทั้งหมด อีกทั้งเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ล้านนาซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความโดดเด่นของอารยธรรมล้านนาที่มีความเชื่อมโยงกันอย่างชัดเจนเข้าด้วยกัน ให้เกิดความร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ในการสนับสนุนเศรษฐกิจท้องถิ่น มีการเสริมสร้างทุนทางวัฒนธรรมให้มีความเข้มแข็ง ควบคู่ไปกับการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ผ่านการมีพื้นที่แสดงออกทางความคิด อีกทั้งยังสามารถรักษาพื้นที่ศิลปวัฒนธรรมที่มีคุณค่าของชาติได้อย่างยั่งยืน

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อพัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในการสนับสนุนการสร้างสรรค์สื่อสร้างสรรค์
  2. เพื่อหาแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่าง ห่วงโซ่คุณค่าภาคการท่องเที่ยวกับชุมชนท้องถิ่นเพื่อนำเสนอประสบการณ์ทางวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ที่หลากหลาย
  3. เพื่อสร้างความร่วมมือในระดับสากลในการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและแบ่งปันองค์ความรู้อุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  4. เพื่อสนับสนุนการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญด้านงานสร้างสรรค์
  5. เพิ่มมูลค่าสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จากรากฐานวัฒนธรรม
  6. เพื่อสร้างงานสร้างอาชีพและการกระจายรายได้สู่ชุมชนท้องถิ่นด้วยกิจกรรมการผลิตสร้างสรรค์

ตัวชี้วัด

  1. สื่อดิจิทัลล้านนาสร้างสรรค์จากต้นทุนวัฒนธรรม
  2. การจ้างงานมูลค่าสูงในอุตสาหกรรมและผลตอบแทนเชิงเศรษฐกิจและสังคม
  3. มูลค่าเพิ่มของสินค้าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
  4. จำนวนความร่วมมือจากภาครัฐและภาคการศึกษา และการลงทุนจากภาคเอกชน
  5. การประยุกต์ใช้สื่อดิจิทัลในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการ
  6. เครือข่าย ความร่วมมือและการมีส่วนร่วมของชุมชนสร้างสรรค์
  7. กิจกรรม/เทศกาลที่เกิดขึ้น ทั้งภายในและภายนอกพื้นที่
  8. หลักสูตร กิจกรรม ผู้ประกอบการและผู้เข้ารับบริการพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์
  9. การรับรู้และการเข้าถึงสื่อสร้างสรรค์ของผู้บริโภค

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 1
การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงต้องประกอบไปด้วย 3 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

พัฒนาระบบนิเวศล้านนาสร้างสรรค์
(Lanna Creative Ecosystem) (C1)

แนวทางที่ 2

เชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผ่านการเป็นเมืองแห่งเทศกาล (C2)

แนวทางที่ 3

ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์ (C3)