พัฒนาระบบนิเวศล้านนาสร้างสรรค์
(Lanna Creative Ecosystem) (C1)

     สร้างระบบนิเวศในการสร้างสรรค์ ให้บริการและสนับสนุนการออกแบบ การผลิต การตลาด และการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน นักเรียน นักศึกษา และบุคคลทั่วไปในการผลิตสื่อสร้างสรรค์ เพื่อดึงศักยภาพของอุตสาหกรรมล้านนาสร้างสรรค์ในพื้นที่เศรษฐกิจ ผสานกับการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เกิดเป็นพื้นที่ทางความคิดสร้างสรรค์เพื่อสกัดออกมาเป็นสินค้า บริการและสื่อดิจิทัลสร้างสรรค์ ที่มีเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่อันเป็นข้อได้เปรียบในการเพิ่มมูลค่า ซึ่งประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

ผลักดันเป็นศูนย์กลางการผลิตสร้างสรรค์
(C1.1)

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เพื่อเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เช่น การจัดสรรพื้นที่การทำงาน การปรับภูมิทัศน์เมือง การให้คำปรึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การฝึกอบรม รวมไปถึงการเผยแพร่และส่งเสริมผู้ผลิต พร้อมจัดตั้งองค์กรอิสระกำกับดูแลการสร้างคอนเทนต์ และสร้างระบบเครือข่ายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์เพื่อรวบรวมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหลายภาคส่วนทั้งในและนอกพื้นที่ เช่น กลุ่มผู้ผลิตงานหัตถกรรม อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว หน่วยงานภาครัฐ  ภาคเอกชนและสถาบันการศึกษา รวมถึงนักลงทุน ให้เกิดการพบปะ แลกเปลี่ยน จ้างงานและลงทุนซึ่งกันและกัน ร่วมกันผลักดันอุตสาหกรรมสร้างเป็น Soft power ของภูมิภาค

แผนงานที่ 2

สร้างพื้นที่สนับสนุนเทคโนโลยีดิจิทัลครบวงจร (C1.2)

พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมจัดหาทรัพยากรที่จำเป็นด้านเทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อสนับสนุนการสร้างสรรค์ผลงานในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ทั้งในส่วนของพื้นที่การทำงาน และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สามารถช่วยส่งเสริมประสิทธิภาพในการทำงานสร้างสรรค์อย่างเต็มรูปแบบ เพื่อให้เกิดการผลิตงานสร้างสรรคหลากหลายในรูปแบบที่มีมูลค่าสูง ผ่านการใช้งานในพื้นที่ส่วนกลางซึ่งมีการทำงานร่วมกันของเครือข่ายอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่หลากหลาย เช่น

  • จัดทำ Co-working spaces ในการระดมความคิดและเชื่อมโยงเครือข่าย
  • บริการให้เช่ายืมพื้นที่สตูดิโอ ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ และอุปกรณ์ดิจิทัลที่ครอบคลุมการผลิตสื่อหลากหลายรูปแบบ
  • พื้นที่คลังข้อมูล (Big Data)

แผนงานที่ 3

สร้างดิจิทัลมีเดีย (Digital Art) และเทคโนโลยีความจริงต่อขยาย (Extended Reality) (C1.3)

ส่งเสริมการสร้างสื่อประสบการณ์จริงต่อขยาย (Extended reality experiences) ในบริบทล้านนาสร้างสรรค์ให้เหมือนจริงและเข้าถึงได้มากยิ่งขึ้น ผ่านการสร้างความร่วมมือกันระหว่างอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่และบริษัททางด้านเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ และแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์ด้านศิลปะ ดิจิทัลมีเดีย และเทคโนโลยีความจริงต่อขยาย ผ่านการใช้พื้นที่ศูนย์กลางด้านสื่อดิจิทัล

แผนงานที่ 4

ต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมล้านนาสร้างสรรค์
(C1.4)

สนับสนุนการนำเอาองค์ความรู้ ภูมิปัญญาและทุนทางวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์อันโดดเด่นของภูมิภาคมาพัฒนาต่อยอดเป็นสินค้าและบริการล้านนาสร้างสรรค์ที่ได้มาตรฐาน รวบรวมผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ การจัดทำข้อมูลรวมไปถึงการจัดหาทรัพยากร สร้างเป็นเครือข่ายและพื้นที่ความรู้ด้านความเป็นล้านนา เพื่อเชื่อมต่อเข้ากับอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีศักยภาพในการเพิ่มมูลค่าทุนทางวัฒนธรรมในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาเป็นอุตสาหกรรมล้านนาสร้างสรรค์ บนพื้นฐานของความยั่งยืน

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 1
การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงต้องประกอบไปด้วย 3 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

พัฒนาระบบนิเวศล้านนาสร้างสรรค์
(Lanna Creative Ecosystem) (C1)

แนวทางที่ 2

เชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผ่านการเป็นเมืองแห่งเทศกาล (C2)

แนวทางที่ 3

ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์ (C3)