พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกที่ยั่งยืน (A2)

   เพิ่มประสิทธิภาพการส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปโดยสอดรับกับความยั่งยืนและการไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ผ่านการวางรากฐานและพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เอื้อต่อการผลิตและส่งออกในภาคการเกษตร ส่งเสริมการพัฒนาและประยุกต์เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการแก้ปัญหาในอุตสาหกรรม โดยเฉพาะประเด็นความน่าเชื่อถือและมาตรฐานการส่งออก รวมถึงการเพิ่มความสามารถการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์สินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมซึ่งกำลังเติบโตอย่างรวดเร็วในระดับสากล ประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

ผลักดันการสร้างเครือข่ายโลจิสติกส์ เพื่อการกระจายสินค้าอย่างมีประสิทธิภาพ (A2.1)

ยกระดับผู้ประกอบการให้มีสมรรถนะด้านการจัดการโลจิสติกส์ที่สูงขึ้น และผลักดันให้เกิดโครงสร้างพื้นฐานในการกระจายและส่งออกผลิตภัณฑ์สินค้าเกษตร ผ่านเครือข่ายโลจิสติกส์ที่มีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาจัดการโซ่อุปทานการเกษตร ประเมินและวัดประสิทธิภาพ ให้เกิดการลดต้นทุนและระยะเวลา ปรับปรุงกระบวนการกระจายสินค้าและการส่งออก รวมไปถึงงานด้านเอกสารและพิธีทางศุลกากร

แผนงานที่ 2

ลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ชุมชนและสังคม (A2.2)

ผลักดันให้อุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร เป็นต้นแบบอุตสาหกรรมที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านงานวิจัยและพัฒนา หรือเทคโนโลยีในการทำเกษตรที่ยั่งยืน ลดการใช้สารเคมีที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของสังคม สร้างเครือข่ายที่สนับสนุนระบบเกษตรในชุมชนให้มีความยั่งยืน รวมไปถึงการเสริมสร้างความตระหนักรู้ในการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในชุมชนและสังคมให้ก้าวไปสู่การมีคุณภาพชีวิตที่ดี

แผนงานที่ 3

สร้างตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรยั่งยืน (A2.3)

จัดตั้งหน่วยงานกลางเพื่อเป็นตัวกลางในการอำนวยความสะดวกในการพัฒนาสินค้าเกษตรแปรรูปและการส่งออกผลิตภัณฑ์เกษตรมูลค่าสูงที่มีรากฐานบนความเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ช่วยเหลือในการยกระดับขีดความสามารถของเกษตรกรและผู้ประกอบการเพื่อสร้างโอกาสและความได้เปรียบทางการแข่งขันในตลาดผลิตภัณฑ์เกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูปยั่งยืนให้ไปสู่ระดับสากล อีกทั้งยังทำหน้าที่เป็นหน่วยงานศูนย์กลางการติดต่อดำเนินงานกับตลาดต่างประเทศ เพื่อให้เกษตรกรและผู้ประกอบการสามารถเข้าถึงโอกาสในการส่งออกได้ง่ายขึ้น และสร้างรายได้เพิ่มขึ้น

แผนงานที่ 4

กำหนดมาตรฐาน และแนวทางการผลิตผลิตภัณฑ์เกษตรที่ยั่งยืน (A2.4)

สร้างกลไกและกระบวนการตรวจสอบรับรองมาตรฐานและการประกันคุณภาพ รวมถึงแนวปฏิบัติความยั่งยืน เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร กำหนดมาตรการที่ชัดเจนและตรวจสอบได้ในทุกขั้นตอนตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำของโซ่อุปทาน การออกแบบการรับรองหรือฉลากคุณภาพเพื่อให้เกิดการปฏิบัติตาม รวมไปถึงการกำกับดูแลมาตรฐานคุณภาพที่ชัดเจน เช่น การรับรองมาตรฐานเกษตรปลอดภัย การจัดการพลังงานหมุนเวียน การอนุรักษ์แหล่งน้ำ การควบคุมการใช้สารเคมีในการทำเกษตร มาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

แผนงานที่ 5

เชื่อมต่อเกษตรกรและตลาด ผ่านดิจิทัลแพลตฟอร์ม (A2.5)

สร้างสภาพแวดล้อมที่เพิ่มโอกาสในการทำการค้าและการทำธุรกิจ ผ่านการเชื่อมต่อกันระหว่างเกษตรกรและตลาดดิจิทัลแพลตฟอร์มออนไลน์ดิจิทัล หรือ Digital E-commerce โดยสันบสนุนการนำสินค้าเกษตรและผลิตภัณฑ์เกษตรแปรรูปมาสร้างการรับรู้และสร้างช่องทางการขายผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ เพื่อเปิดช่องทางตลาดใหม่ๆ สร้างความต่อเนื่องในการขายและการกระจายสินค้า เชื่อมโยงธุรกิจร้านค้า การจัดส่ง รวมถึงการบริการหลังการขาย 

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จึงต้องประกอบไปด้วย 4 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

บุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และตลาดอาหารที่มีความยั่งยืน (A1)

แนวทางที่ 2

พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกที่ยั่งยืน (A2)

แนวทางที่ 3

มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ (A3)

แนวทางที่ 4

ผลักดันการสร้างฮับนวัตกรรมด้านการเกษตร (A4)