ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์ (C3)
สร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาและสนับสนุนช่างฝีมือ สล่าชุมชน แรงงานหรือผู้ประกอบการ ผ่านการออกนโยบายและมาตรการที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการคิดค้นนวัตกรรม ด้วยการมีโครงสร้างพื้นฐานที่สนับสนุนช่วยส่งเสริมกระบวนการความคิดของผู้คน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการสร้างผลผลิต มีความคิดและทักษะในการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมไปถึงประกอบอาชีพและดำรงชีวิตได้อย่างสร้างสรรค์ ประกอบด้วยแผนงาน ดังนี้
แผนงานที่ 1
ร่วมมือกับสถาบันการศึกษา หรือสถาบันฝึกอบรมอาชีพ (C3.1)
จัดการฝึกอบรมหลักสูตรและกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อเสริมสร้างทักษะและความคิดสร้างสรรค์ให้กับแรงงานให้มีศักยภาพในการทำงานครอบคลุมขอบเขตงานที่ตรงตามความต้องการของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สำหรับเป็นทรัพยากรสำคัญในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ และเป็นการเสริมสร้างสัมพันธภาพระหว่างภาคอุตสาหกรรมและสถาบันการศึกษาเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงานสร้างสรรค์และนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้น
แผนงานที่ 2
สร้างศูนย์บ่มเพาะผู้ประกอบการเชิงสร้างสรรค์ (C3.2)
สร้างศูนย์ส่งเสริมสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์และนวัตกรรมในผู้ประกอบการหรือผู้ที่มีความสนใจทางธุรกิจเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ บริการใหม่ๆ เพื่อตอบสนองความต้องการในตลาดแรงงานและอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ผ่านการจัดอบรมและสร้างคลาสเรียน เพื่อพัฒนาทักษะทางธุรกิจ การพัฒนาไอเดียหรือนวัตกรรมเพื่อสร้างเอกลักษณ์และความแตกต่าง และการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านเครือข่ายที่เชื่อมโยงผู้ประกอบการเข้าด้วยกัน
แผนงานที่ 3
เพิ่มผลิตภาพของแรงงานสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่อง (C3.3)
สร้างหลักสูตร จัดกิจกรรมฝึกอบกรมเพื่อการพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้องโดยตรง (Hard Skills) และทักษะสนับสนุน (Soft Skills) เพื่อเพิ่มทักษะความชำนาญและความพร้อมให้กับแรงงาน และเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ในการทำงาน สร้างพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ความคิดสร้างสรรค์จากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสร้างแรงงานที่มีทักษะสูงในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ส่งเสริมประสิทธิภาพในการพัฒนาสินค้าและบริการ ตอบสนองต่อความต้องการของตลาดและอุตสาหกรรมสร้างสรรค สามารถรองรับเทคโนโลยี นวัตกรรม และการเปลี่ยนแปลงของความต้องการที่ผันผวนตลอดเวลา
แผนงานที่ 4
สนับสนุนทุนการศึกษาและการให้คำปรึกษา (C3.4)
เปิดโอกาสและสร้างพื้นที่ให้แก่ผู้คนที่ต้องการเรียนรู้และพัฒนาความรู้ที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ผ่านการสนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับเพิ่มทักษะและความรู้ที่เกี่ยวข้องอุตสาหกรรม และรับคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ เช่นนักออกแบบหรือศิลปินที่อยู่ในอุตสาหกรรมเพื่อเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์จริง เพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ที่สนใจสามารถพัฒนาทักษะและความรู้ให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงของทิศทางในอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
แนวทาง
เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 1
การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงต้องประกอบไปด้วย 3 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้
แนวทางที่ 1
พัฒนาระบบนิเวศล้านนาสร้างสรรค์
(Lanna Creative Ecosystem) (C1)
แนวทางที่ 2
เชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผ่านการเป็นเมืองแห่งเทศกาล (C2)
แนวทางที่ 3
ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์ (C3)