เชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผ่านการเป็นเมืองแห่งเทศกาล (C2)

      จัดงานเทศกาลการเฉลิมฉลองการมาถึงของประเพณีหรือวาระสำคัญที่จะเกิดขึ้นในแต่ละเมือง ซึ่งเชื่อมโยงเอกลักษณ์ที่ชัดเจนของพื้นที่เศรษฐกิจล้านนาเข้าด้วยกันทั้งหมด ผ่านการเริ่มต้นวางรากฐานความมั่นคงทางสังคมและวัฒนธรรมในชุมชน ให้เกิดการรวมกลุ่มของผู้คนในสังคม โดยไม่เป็นเพียงเทศกาลในช่วงสั้นๆ แต่เป็นหมุดหมายการท่องเที่ยวที่สำคัญที่มีผลประโยชน์ยึดโยงกับคนในพื้นที่อย่างแท้จริง ทำให้เกิดกิจกรรมทางวัฒนธรรมที่สร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุน และยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ให้เกิดการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืนตามมา ประกอบด้วย แผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

ผลักดันและส่งออกอัตลักษณ์ของเมืองวัฒนธรรม (C2.1)

ผลักดันและส่งออกวัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่ ผ่านศิลปะ ดนตรี วรรณกรรม จิตรกรรม ประติมากรรม สินค้าที่ระลึก ละครและภาพยนตร์ หรือการแสดงออกผ่านวิถีชีวิต (Life styles) โดยส่งเสริมสนับสนุนและลงทุนในการผลิตสินค้าและบริการ การสร้างสรรค์สื่อวัฒนธรรม การจัดกิจกรรมทางวัฒนธรรมสร้างสรรค์ การสร้างนวัตกรรมทางวัฒนธรรมของพื้นที่ ที่เป็นการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ จากทุนทางวัฒนธรรม โดยมุ่งเน้นการสร้างรับรู้แก่บุคคลภายนอกเพื่อสนับสนุนการส่งออกสู่ตลาดสร้างสรรค์

แผนงานที่ 2

ผลักดันและส่งออกความเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหาร (C2.2)

สร้างการรับรู้ความโดดเด่นด้านอาหารล้านนา ทั้งรูปแบบดั้งเดิมและผสมผสาน นำเสนอเรื่องราวผ่านอัตลักษณ์ของอาหาร ให้ผู้มาเยือนสามารถดื่มด่ำกับความหลากหลายทางรสชาติและประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่น ผลักดันการเป็นจุดหมายปลายทางด้านอาหารสร้างสรรค์ที่มีรากฐานจากทรัพยากรในพื้นที่ผ่านงานเทศกาลและกิจกรรม เช่น จัดพื้นที่ขายอาหาร จัดเทศกาลอาหารและกิจกรรมส่งเสริมอาหารสร้างสรรค์ รวมไปถึงการสร้างความร่วมมือร่วมกับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารล้านนาสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาเป็นแหล่งส่งออกอาหารสร้างสรรค์ ขยายตลาดสู่ภายนอกพื้นที่

แผนงานที่ 3

แลกเปลี่ยนระหว่างวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือระหว่างชุมชน (C2.3)

สร้างความร่วมมือภายในชุมชนเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ในการกระตุ้นให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมภายในพื้นที่เศรษฐกิจล้านนาสร้างสรรค์ สร้างความร่วมมือของชุมชนท้องถิ่นในพื้นที่ ให้เกิดการหมุนเวียนของนักท่องเที่ยวระหว่างชุมชนและการลงทุน นำไปสู่การยกระดับทุนทางวัฒนธรรมและศักยภาพการผลิตสร้างสรรค์จากรากฐานองค์ความรู้ของชุมชนในพื้นที่ ลดการแข่งขัน สร้างโอกาสและกระจายรายได้อย่างทั่วถึง เกิดการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืน ดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีชีวิตของชุมชน

แผนงานที่ 4

สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการวางแผนและการดำเนินนโยบายการท่องเที่ยวในชุมชน (C2.4)

ส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและให้ผู้คนในชุมชนมีส่วนร่วมระหว่างภาคการท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น ในการตัดสินใจ วางแผนกำหนดนโยบายการท่องเที่ยวของชุมชนร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาสินค้าและบริการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่เชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวด้วยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน การพัฒนาของที่ระลึก รวมไปถึงการมีส่วนร่วมในการติดตามประเมินผล เพื่อตอบสนองความต้องการการดำเนินการร่วมกันของชุมชน พัฒนาสู่การท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับวิถีชีวิตและทัศนคติของผู้คนในชุมชน

แผนงานที่ 5

แลกเปลี่ยนประเพณีวัฒนธรรม ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ (C2.5)

จัดตั้งหน่วยงานขับเคลื่อนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเพื่อสร้างความร่วมมือ ติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนวัฒนธรรม รวมไปถึงงานสร้างสรรค์แขนงต่างๆ ให้เกิดการเชื่อมต่อก้นระหว่างเมืองสร้างสรรค์ทั่วโลก เป็นการประชาสัมพันธ์ประเพณี วิถีชีวิต วัฒนธรรมที่เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของพื้นที่เศรษฐกิจล้านนา รวมถึงพัฒนาศักยภาพให้แก่อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในพื้นที่ผ่านการแลกเปลี่ยนหมุนเวียนการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ เช่น

  • จัดโครงการเวิร์คช็อปแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม ระหว่างประเทศ
  • ดึงดูดศิลปิน นักแสดง หรือผู้เชี่ยวชาญในงานสร้างสรรค์แขนงต่างๆ จากทั่วโลกให้เข้ามาเยี่ยมชม

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 1
การยกระดับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ จึงต้องประกอบไปด้วย 3 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

พัฒนาระบบนิเวศล้านนาสร้างสรรค์
(Lanna Creative Ecosystem) (C1)

แนวทางที่ 2

เชื่อมโยงพหุวัฒนธรรมสร้างสรรค์ ผ่านการเป็นเมืองแห่งเทศกาล (C2)

แนวทางที่ 3

ส่งเสริมและสนับสนุนส่วนการศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะล้านนาสร้างสรรค์ (C3)