อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจัดตั้งขึ้นจากข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 7 คณะ อันประกอบด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นสะพานแห่งการสร้างนวัตกรรม (Bridge for Innovation) ข้ามหุบเหวแห่งความท้าทาย (Valley of Challenge) โดยเชื่อมโยงและผสานการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนสังคมที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยบนพื้นฐานของการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย (ผลงานวิจัย นักวิจัยและเครื่องมือวิจัย) มาใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าในรูปแบบของการผลักดันองค์ความรู้/งานวิจัยให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ (Research Commercialization) การสร้างธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ (Tech Startup) ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) การทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในองค์รวม (Total Value Creation) และการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนโดยการบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการหลักของมหาวิทยาลัยที่เพิ่มเติมขึ้นมา นอกเหนือจากกระบวนการสอนและการทำวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ

วิสัยทัศน์
“เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ชั้นนำของเอเชียที่สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าแบบองค์รวม”
"To Become the ASIA’s Leading University Science Park Utilizing University Resources for Business Innovation and Total Value Creation."

พันธกิจ
QUADRUPLE HELIX MODEL เชื่อมโยงความร่วมมือจากทั้ง 4 ส่วน (Quadruple Helix Model) ได้แก่ ภาคเอกชน ภาคการศึกษา ภาครัฐบาล และภาคชุมชน ในการพัฒนาธุรกิจวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
TECH COMMERCIALIZATION ให้บริการโดยผู้เชี่ยวชาญในการผลักดันองค์ความรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมออกสู่เชิงพาณิชย์
ONE STOP SERVICE ให้บริการพัฒนาธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรมครบวงจรอย่างมืออาชีพ ด้วยโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ
STARTUP สร้างระบบบ่มเพาะธุรกิจเทคโนโลยีที่มีศักย
ภาพสำหรับ Startup และผู้ประกอบการนวัตกรรม

ค่านิยมองค์กร
Simple : การให้บริการที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วช่วยทำเรื่องที่มีความซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่าย สามารถจับต้องผลงานที่เกิดขึ้นได้จริง
Service : การให้บริการที่เน้นการให้ความสำคัญแก่ลูกค้า มุ่งมั่นในการตอบสนองและสร้างความพึงพอใจที่เหนือความคาดหมายของลูกค้า
Sincere :
การให้บริการด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญา และทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการใช้บริการ
กระบวนการทำงาน

กระบวนการข้ามหุบเหวแห่งความท้าทายเพื่อสร้างนวัตกรรม (Approach to Cross Valley of Challenge) โดย อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำหน้าที่เป็นสะพานแห่งการสร้างนวัตกรรม (Bridge for Innovation) เพื่อข้ามหุบเหวแห่งความท้าทาย (Valley of Challenge) โดยเชื่อมโยง และผสานการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน สังคมที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย บนพื้นฐานของการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย (ผลงานวิจัย นักวิจัยและเครื่องมือวิจัย) มาใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม
โครงสร้างองค์กร

อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ

อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ
(จังหวัดเชียงใหม่)
อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือได้รับการสนับสนุนงบประมาณก่อสร้างอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จังหวัดเชียงใหม่) จากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยการสนับสนุนพื้นที่ตั้งอาคารฯ จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 เพื่อสร้างให้เกิดระบบนิเวศน์นวัตกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อการส่งเสริมการสร้างงานวิจัยและพัฒนา โดยได้ให้บริการแก่ผู้ประกอบการและหน่วยงานที่สนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมในพื้นที่อาคารฯ ไปแล้วทั้งสิ้น 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 99.5 ของพื้นที่ให้บริการทั้งหมด เกิดเป็นกิจกรรมภายในอาคาร จำนวน 11,036 กิจกรรม และมีผู้เข้ามาใช้ประโยชน์จากอาคารอย่างต่อเนื่องแล้วจำนวน 146,464 ราย ทำให้เกิดการจ้างงาน 566 ราย และมีมูลค่าเศรษฐกิจหมุนเวียน 1,830 ล้านบาท (ข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 30 กันยายน 2564)
ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์
ร่วมงานกับ STeP
20 พ.ค. 2565 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานอุทยานฯ ตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจนวัตกรรม รายละเอียด |
20 พ.ค. 2565 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานอุทยานฯ ตำแหน่งวิศวกรออกแบบ รายละเอียด |
20 พ.ค. 2565 | ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเป็นพนักงานอุทยานฯ ตำแหน่งวิศวกรโรงงาน รายละเอียด |
20 พ.ค. 2565 | ประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงานตำแหน่งพนักงานพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและความร่วมมือต่างประเทศ รายละเอียด |
20 พ.ค. 2565 | ประกาศรับสมัครเพื่อคัดเลือกเป็นพนักงานตำแหน่งพนักงานประสานงาน รายละเอียด |
ประกาศจัดซื้อ / จัดจ้าง
30 มี.ค. 2565 | ประกาศอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง เปลี่ยนแปลงแผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รายละเอียด |
4 มี.ค. 2565 | ประกาศอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง เผยแพร่แผนการจัดซื้อจัดจ้าง ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 รายละเอียด |
24 เม.ย. 2563 | ประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์พร้อมติดตั้งระบบสร้างชิ้นงานแบบสามมิติ ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพการให้บริการศูนย์เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติแบบครบวงจรในอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) จำนวน 2 รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) รายละเอียด |
17 เม.ย. 2563 | ประกาศอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ประกวดราคาซื้อครุภัณฑ์ พร้อมติดตั้งระบบการถนอมอาหารแบบใช้แรงดันสูง (High Pressure Processing) และระบบสร้างสนามไฟฟ้าแบบพัลส์สำหรับฆ่าเชื้อในของเหลว (Pulsed Electric Field) จำนวน ๒ รายการ ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) รายละเอียด |
17 เม.ย. 2563 | ร่างเอกสารประกวดราคา/ร่างเอกสารประกาศเชิญชวน การจัดซื้อครุภัณฑ์พร้อมติดตั้งระบบสร้างชิ้นงานแบบสามมิติ ภายใต้โครงการการพัฒนาศักยภาพการให้บริการศูนย์เทคโนโลยีการขึ้นรูปชิ้นงานสามมิติแบบครบวงจรในอาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคเหนือ (จ.เชียงใหม่) จำนวน 2 รายการ รายละเอียด |