----------------
ปัจจุบันแหล่งพลังงาน มีมากมายหลายชนิด โดยใช้ในภาคอุตสาหกรรม คมนาคม การค้าและการบริการสาธารณะ การเกษตรและการป่าไม้ ซึ่งในวันนี้จะพามารู้จักกับแหล่งพลังงานชนิดใหม่ ที่ พัฒนามาจากเครื่องปรุงพื้นฐานประจำทุกครัวเรือน
สถาบัน Fraunhofer ด้านเทคโนโลยีและระบบด้านเซรามิก (IKTS – Fraunhofer-Institut für Keramische Technologien und Systeme) ได้พัฒนาแบตเตอรี่ที่ทำมาจากเกลือแกง (โซเดียมคลอไรด์) โดยสถาบันฯ ได้ร่วมมือกับบริษัทแบตเตอรี่ของออสเตรเลียชื่อว่า Altech พัฒนาแบตเตอรี่ชนิดนี้ขึ้นมาและสามารถผลิตออกมาในรูปอุตสาหกรรมได้แล้ว
ซึ่งปัจจุบันได้เตรียมสร้างโรงงานแบตเตอรี่จากเกลือแกง ที่มีกำลังการผลิตสูงถึง 100 เมกะวัตต์ชั่วโมง ในนิคมอุตสาหกรรม Schwarze Pumpe ในรัฐ Sachsen โดยได้ใช้งานนิกเกิลรีไซเคิลทั้งหมด ซึ่งแบตเตอรี่จะใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่ายในยุโรปแทบทั้งสิ้น
ในช่วงแรกมีการออกแบบแบตเตอรี่ประเภทนี้ไว้อย่างซับซ้อนมาก เพราะเป้าหมายในเวลานั้นก็คือการใช้งานกับรถ EV ซึ่งได้แก้ไขทำให้สิ่งต่าง ๆ ให้ง่ายขึ้น และปรับขนาดให้เหมาะสมกับการใช้งาน โดยแบตเตอรี่จะประกอบไปด้วยท่อเซรามิกแข็ง (เทคโนโลยีแบตเตอรี่ Solid-state) ที่มาทำหน้าที่เป็นอิเล็กโทรไลต์ (electrolyte) โดยมีขั้วบวกอยู่ตรงกลาง
โดยท่อแข็งนี้ช่วยให้สามารถถ่ายโอนโซเดียมไอออนผ่านท่อได้เป็นอย่างดี ซึ่งท่อดังกล่าวจะมีเกลือแกงและนิกเกิลบรรจุอยู่เต็ม เมื่อถูกชาร์จพลังงาน โซเดียมก็จะซึมผ่านอิเล็กโทรไลต์เพื่อสร้างแอโนด (anode คือ บริเวณด้านที่เกิดการให้อิเล็กตรอนจากปฏิกิริยาไฟฟ้าเคมี) หากมีการปลายพลังงานกลับออกไป กระบวนการจะทำงานย้อนกลับโดยอัตโนมัติ นับว่าเป็นแหล่งพลังงานที่ มีประสิทธิภาพ และเกิดการใช้ประโยชน์มากเลยทีเดียว
#CMUSTeP #MakeInnovationSimple #STePsharing #STePInnoNews #innovation #technology #แหล่งพลังงาน #แบตเตอรี่
ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก : https://www.blockdit.com/posts/64b6482c6741d644c6c8b33f