ยุคนี้การเก็บข้อมูลอยู่ในเมฆกันหมดแล้ว แต่ย้อนเวลากลับไปสักหน่อย การเก็บข้อมูลใน Hard Disk ก็เคยเป็นวิธีการหลักมาก่อน หรือในปัจจุบัน บางการเก็บข้อมูลก็ยังคงเลือกการใช้ Hard Disk เพียงแต่ด้วยข้อจำกัดของความจุ ทำให้การใช้งาน Hard Disk ในรูปแบบต่างๆ จึงลดลงตามกาลเวลา
แต่งานวิจัยล่าสุดโดยมหาวิทยาลัยชิคาโก พวกเขาได้ประยุกต์เอาความเป็นไปได้เมื่อครั้งอดีตมาปัดฝุ่นใหม่อีกครั้งแล้ว ผ่านการนำเสนอแนวคิดใหม่สำหรับอุปกรณ์เก็บข้อมูลที่ใช้ประโยชน์จากคุณสมบัติอันทรงพลังของกลศาสตร์ควอนตัม เกิดเป็นอุปกรณ์หน่วยความจำที่มีความหนาแน่นสูงที่ประกอบด้วยเซลล์ความจำจำนวนมาก ซึ่งแต่ละเซลล์จะบรรจุธาตุหายากภายในวัสดุแข็ง โดยในกรณีนี้คือผลึกแมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) ที่สามารถทำลายข้อจำกัดเดิมได้อย่างหมดสิ้น
เพราะวิธีการเก็บข้อมูลด้วยหน่วยความจำทางแสงในปัจจุบัน เช่น ซีดีและดีวีดี มีข้อจำกัดจากขอบเขตการเบี่ยงเบนของแสง ซึ่งหมายความว่าข้อมูลแต่ละชิ้นที่ถูกเก็บจะต้องมีขนาดไม่เล็กกว่าความยาวคลื่นของเลเซอร์ที่ใช้ในการอ่านและเขียนข้อมูล อย่างไรก็ตาม นักวิจัยได้ตั้งสมมุติฐานว่าแผ่นดิสก์อาจเก็บข้อมูลได้มากขึ้นในพื้นที่เดียวกัน ถ้าใช้เทคนิค "Wavelength Multiplexing"
“เราได้ทำการวิเคราะห์ฟิสิกส์พื้นฐานเกี่ยวกับการถ่ายโอนพลังงานระหว่างจุด ซึ่งเราได้ค้นพบว่าเทคนิคของเราสามารถสนับสนุนวิธีการเก็บข้อมูลทางแสงที่มีประสิทธิภาพอย่างยิ่ง” Giulia Galli ศาสตราจารย์จากโรงเรียนวิศวกรรมโมเลกุล Pritzker แห่งมหาวิทยาลัยชิคาโกกล่าวในรายงานการวิจัย
การศึกษานี้ได้ทำการจำลองวิธีการที่แสงแพร่กระจายที่ระดับนาโนเมตร เพื่อให้เข้าใจว่าพลังงานเคลื่อนที่ระหว่างตัวแทนที่ปล่อยแสงจากธาตุหายากและจุดบกพร่องควอนตัมในวัสดุอย่างไร รวมถึงวิธีที่จุดบกพร่องควอนตัมเก็บพลังงานที่ถูกจับได้ Galli ด้วย ทำให้เกิดความเข้าใจเกี่ยวกับการทำงานของจุดบกพร่องควอนตัมในวัสดุแข็งเมื่อมีปฏิสัมพันธ์กับแสงมากขึ้น ดังนั้นไม่แน่ว่าในอนาคตการเก็บข้อมูลใน Hard Disk อาจจะกลับมาอีกครั้งในขนาดการเก็บข้อมูลที่มากมายกว่าเดิมมหาศาล ซึ่งนี่ก็เป็นทิศทางที่ผู้วิจัยกำลังพัฒนาต่อในอนาคตด้วย
ไม่แน่นะ ในอนาคตเราอาจได้เจอกับ CD แผ่นเดียวที่เก็บข้อมูลของทั้งประเทศก็ได้ ใครจะรู้