วิจัยหาคำตอบ ทำไมป้าคิดว่าตัวเองถูก ทั้งที่ผิด อธิบายถึงที่มาพร้อมเสนอแนวคิดแก้ไข

หนึ่งในภาพจำของมนุษย์ป้า คือการยืนยันว่าตนเองถูก ทั้งที่เห็นอยู่ว่าเจ้าตัวรู้ว่าตนเองผิดแน่ๆ แต่รู้ไหมว่านั่นคือแค่เรื่องของมนุษย์ป้าหรอก เราทุกคนมีโอกาสเป็นแบบนั้นกันทั้งนั้น แต่นั่นเองที่ทำให้เกิดความสงสัยจนนำมาสู่การหาคำตอบโดยนักวิจัยและเพิ่มตีพิมพ์ผลการศึกษาออกมา


งานวิจัยนี้ตีพิมพ์ในวารสาร PLOS ONE โดยอังกัส เฟลตเชอร์ นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโอไฮโอและคณะ โดยได้บรรยายไว้ว่าความมั่นใจเกินควรของบุคคลในความถูกต้องของตนในกรณีขัดแย้งกับเพื่อนหรือเพื่อนร่วมงาน อาจเกิดจากการที่พวกเขาเชื่อว่า ‘มีข้อมูลเพียงพอในการตัดสินใจ’ หรือสนับสนุนความเห็นของตน แม้ว่าจะไม่เป็นจริงก็ตาม โดยนักวิจัยเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ภาพลวงตาของความเพียงพอของข้อมูล"


งานวิจัยยังได้อธิบายเพิ่มเติมด้วยว่าตามปกติแล้ว คนส่วนใหญ่ไม่ได้มีช่วงเวลาหยุดคิด ว่ามีข้อมูลเพิ่มเติมที่อาจช่วยให้ตนตัดสินใจได้ดีกว่าหรือเปล่า กลับกันคือหากได้รับข้อมูลบางส่วนที่ดูสอดคล้องกัน คนส่วนใหญ่มักเชื่อว่า "มันฟังดูถูกต้อง" และตัดสินใจตามข้อมูลนั้น กล่าวคือไม่ได้สนใจข้อมูลว่าตนเองกำลังผิดอยู่อีกแล้ว แต่ถ้าในหัวมีความคิดบางแง่มุมว่า ‘ฉันถูก’ มนุษย์มีโอกาสเชื่อภาพลวงตานั้นโดยปราศจากการมองภาพรวม


โดยการค้นพบนี้เสริมสร้างหลักการเกี่ยวกับ "ความจริงที่ไม่รู้" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าผู้คนอาจมีความเข้าใจเหมือนกัน หากพวกเขามีข้อมูลเพียงพอ ดังนั้นเฟลตเชอร์จึงแนะนำทางออกในตอนท้ายว่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด การคำนึงถึงข้อมูลที่ได้รับอย่างครบถ้วนเพื่อทำความเข้าใจสถานการณ์ก่อนคือเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ดังนั้นควรมีการตั้งคำถามอย่างสม่ำเสมอว่า "น่าจะมีข้อมูลอะไรบ้างที่เราพลาดไป ที่จะช่วยให้เราเข้าใจมุมมองของผู้อื่นได้ดีขึ้นไหมนะ?" เพื่อที่จะต่อสู้กับภาพลวงตาของความเพียงพอของข้อมูลนี้