นวัตกรรมโดยพิพิธภัณฑ์สัตว์เคมบริดจ์ AI Chat กับสัตว์ที่สูญพันธ์ไปแล้ว ตั้งแต่นกโดโด้ไปจนถึงแมลงสาบจากยุคโบราณ

จะดีแค่ไหน ถ้าการชมฟอซซิลของสัตว์โบราณในพิพิธภัณฑ์ไม่ใช่แค่การรับชมอีกต่อไป แต่เป็นการสนทนากับสัตว์เหล่านั้นได้แบบเรียลไทม์!


เพราะด้วยนวัตกรรมล่าสุด นักท่องเที่ยวที่เข้าชมพิพิธภัณฑ์สัตว์แห่งมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์จะสามารถสนทนาสองทางกับสัตว์ที่จัดแสดงได้โดยใช้เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ซึ่งพิพิธภัณฑ์ได้เลือกตัวอย่างสัตว์จำนวน 13 ตัวเพื่อใช้ในการสนทนาครั้งนี้ ตั้งแต่นกโดโด้ที่สูญพันธุ์ ปลาฉลามบลูฟิน แพนด้าแดง ไปจนถึงแมลงสาบที่เก็บไว้ในสภาพดี


รักษาการผู้อำนวยการของพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ แจ็ค แอชบี กล่าวว่าวัตถุประสงค์ของโครงการนี้คือการกระตุ้นให้ผู้คนมีส่วนร่วมกับโลกธรรมชาติ รวมถึงให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับสิ่งที่ผู้เยี่ยมชม ผ่านการเริ่มการสนทนากับสัตว์ตัวอย่าง โดยการสแกน QR Code ที่อยู่ใกล้กับการจัดแสดง ซึ่งโครงการทดลองนี้จะกินระยะเวลาหนึ่งเดือน


"เราตื่นเต้นที่จะดูว่าโครงการนี้จะทำงานได้ดีหรือเปล่า และการสนทนากับสัตว์จะเปลี่ยนทัศนคติของผู้คนต่อพวกมันหรือไม่ เช่น แมลงสาบอาจได้รับความนิยมมากขึ้นจากการที่ได้ยินเสียงของมัน เป็นต้น" แอชบีให้ความเห็น


โดยการสนทนาที่ว่านี้ นิทรรศการยังสร้างสรรค์ให้สัตว์จากอดีตกาลสามารถสื่อสารได้มากกว่า 20 ภาษา ด้วยความร่วมมือกับบริษัท Nature Perspectives ซึ่งใช้ AI เพื่อช่วยให้สถาบันต่างๆ เช่น พิพิธภัณฑ์ สามารถมีส่วนร่วมกับสาธารณชนผ่านประสบการณ์การสนทนาได้


กัล ซานีร์ ผู้ร่วมก่อตั้งของบริษัท Nature Perspectives ให้ความเห็นไว้ว่า “นักท่องเที่ยวจะได้รับการสนับสนุนให้ตั้งคำถามที่น่าสนใจ และได้รับคำตอบที่ถูกสร้างขึ้นจากมุมมองที่จำลองจากสัตว์ โดยอิงจากความรู้ทางวิทยาศาสตร์และลักษณะเฉพาะของแต่ละสายพันธุ์มาแล้ว ซึ่งพวกเราหวังว่านี่จะเป็นแรงบันดาลใจให้ทุกคนนำหลักการเดียวกันนี้มาใช้กับธรรมชาติ กล่าวคือเป็นการเสริมสร้างความเชื่อมโยงของเรากับธรรมชาติในแบบที่ไม่เคยสัมผัสมาก่อน”


ตัวอย่างสัตว์อื่น ๆ ที่เข้าร่วมในโครงการนี้ได้แก่ปะการังสมอง, ผีเสื้อเรดแอดมิลล์, นกที่สูญพันธุ์เมื่อไม่นานมานี้จากนิวซีแลนด์, จิ้งจกแพลตตินัสที่ผ่านการแช่แข็งและทำให้แห้ง ไปจนถึงกะโหลกและเขาของกวางยักษ์ เพราะพวกเขาอยากให้ข้อมูลเหล่านี้บ่งบอกถึงความหลากหลายทางชีวภาพในธรรมชาตินั่นเอง