นักวิจัยเสนอนวัตกรรม ไหมผ่าตัดที่ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น ใช้กลไกที่ไหมสามารถผลิตไฟฟ้าได้ด้วยตนเอง

การศึกษาใหม่เกี่ยวกับการเย็บแผลที่ได้รายงานเมื่อวันที่ 8 ตุลาคมในวารสาร Nature Communications นั้นให้ผลที่น่าสนใจ เพราะจากการทดลองที่สำเร็จในหนู นักวิจัย Chengyi Hou จากมหาวิทยาลัยตงหัวในเซี่ยงไฮ้ได้สร้างวัสดุใหม่ที่มีความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่สามารถเร่งการฟื้นตัวของแผลได้โดยเปลี่ยนแปลงการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อจากกระแสไฟฟ้า


หรือพูดง่ายๆ พวกเขาใกล้เคียงในการทำให้ “ไหมเย็บแผล” ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้นได้นั่นเอง


โดยทีมนักวิจัยได้บรรยายไว้ในงานวิจัยว่า ก่อนหน้าทดลอง พวกเขาทราบอยู่แล้วว่าการส่งกระแสไฟฟ้าผ่านบริเวณที่เย็บแผลสามารถเร่งการฟื้นตัวของแผลได้ แต่ด้วยเทคโนโลยีที่ต้องพึ่งพาแบตเตอรี่ในการให้กระแสไฟฟ้า การทำให้ใช้ได้จริงจึงเป็นไปได้ยาก แต่นั่นเองที่ทำให้ผลงานวิจัยของพวกเขาน่าสนใจ เพราะไหมเย็บแผลของพวกเขาสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้จากการใช้พลังงานของร่างกายเอง


ไหมเย็บแผลนี้ถูกสร้างขึ้นจากพอลิเมอร์ที่ย่อยสลายได้และแมกนีเซียม ซึ่งเป็นโลหะที่สามารถถูกดูดซึมโดยร่างกายได้ตลอดเวลา ทำให้เมื่อกล้ามเนื้อรอบๆ การเย็บแผลหดตัวและขยายตัว องค์ประกอบชั้นกลางของไหมเย็บแผลจะเสียดสีกับเปลือกด้านนอก ทำให้เกิดการถ่ายโอนอิเล็กตรอนไปยังเปลือกและสร้างกระแสไฟฟ้าออกมาในที่สุด

โดยทีมงานได้ใช้การกระตุ้นทางไฟฟ้าของไหมในการทดสอบกับแผลเทียมในจานเพาะเชื้อ หลังจากผ่านไป 24 ชั่วโมง ทีมวิจัยพบว่าเซลล์ไฟโบรบลาสต์ ซึ่งเป็นเซลล์ที่สำคัญต่อการรักษา ลดขนาดแผลลงจาก 69% เหลือเพียง 11% ในขณะที่แผลที่ไม่ได้รับการรักษาลดขนาดลงจาก 69% เหลือ 33%


อีกทั้งในการทดลองในหนูกระรอก พบว่าหนูที่ได้รับการรักษาด้วยการเย็บแผลที่มีการกระตุ้นไฟฟ้ามีการฟื้นตัวที่เร็วกว่าและมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อน้อยกว่าหนูที่ได้รับการรักษาด้วยการเย็บแผลแบบดั้งเดิมและหนูที่ไม่ได้รับการรักษา ทำให้หลังจากนี้ทีมงานของ Hou มีแผนที่จะทดสอบการเย็บแผลในสัตว์ขนาดใหญ่ด้วย


งานวิจัยนี้มีประโยชน์อย่างไร? แน่นอนว่าผลการทดลองเป็นเหมือนการเปิดประตูใหม่ให้กับการรักษาแผลในอนาคต โดยเน้นถึงประโยชน์ของการใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ที่พัฒนาขึ้นเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้ป่วย ด้วยการนำเสนอการรักษาที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น อีกทั้งผลลัพธ์จากการศึกษาอาจนำไปสู่การพัฒนาวิธีการรักษาแผลที่ทันสมัยและปรับปรุงคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยในอนาคตได้อีกด้วย