นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว และศูนย์กลางโลจิสติกส์
BCG Industrial Park & Logistics Hub
ที่มาและความสำคัญ
จังหวัดลำปางมีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (Gross Provincial Product : GPP) อยู่ที่ 71,417 ล้านบาท โดยเป็นรายได้จากภาคอุตสาหกรรมเหมืองแร่และไฟฟ้า ประมาณ 15,793 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 22% ของ GPP จังหวัดลำปาง และสืบเนื่องจากกำลังผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินของโรงไฟฟ้าแม่เมาะจะลดลงกว่าครึ่งในอีกสามปีข้างหน้าและจะหยุดเดินระบบในปี 2050 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจจังหวัดลำปางในภาพรวมจึงจำเป็นต้องมีการทดแทนการสูยเสียที่จะเกิดขึ้นกับระบบเศรษฐกิจของจังหวัดลำปางในอนาคต อย่างไรก็ตาม พื้นที่อำเภอแม่เมาะ และจังหวัดลำปางมีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว แหล่งพลังงานสะอาด ศูนย์กลางในการเชื่อมโยงผลิตภัณฑ์จากพื้นที่สู่ภูมิภาคอื่น ด้วยทำเลที่ตั้งที่ติดต่อกับอีก 7 จังหวัด สามารถเชื่อมโยงทั้งพลังงานสีเขียว อุตสาหกรรมสีเขียวสอดคล้องกับนโยบาย BCG Model ทั้งนี้ การพัฒนาดังกล่าว สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขัน ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตลอดจนการสร้างให้ลำปางเป็นเมืองเศรษฐกิจสร้างสรรค์ด้วยภูมิปัญญา และนวัตกรรมท้องถิ่น ส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
วัตถุประสงค์
- เพื่อให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
- เพื่อให้เกิด แหล่งผลิตพลังงานสะอาดในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง เพื่อป้อนเข้าสู่ นิคมอุตสาหกรรมสีเขียว
- เพื่อส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เป็นแหล่งอุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital Park) ในเขตภาคเหนือ
- เพื่อให้เกิด Container Yard เชื่อมโยงพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม สีเขียว ในพื้นที่อำเภอแม่เมาะ เพื่อต่อยอดสู่การเป็น Logistics and Wholesale Hub
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder)
- ภาคพลังงาน
- ภาคอุตสาหกรรม
- ภาคขนส่ง
- ภาคเกษตรและอาหาร
- ภาคการท่องเที่ยว
ผลลัพธ์
- เป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรมสีเขียว ของระดับภูมิภาค GPP ของจังหวัดลำปาง เพิ่มขึ้น 2 เท่า เป็น 150,000 ล้านบาท ภายในปี 2570