มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ (A3)

    นำเทคโนโลยีขั้นสูงมาประยุกต์ใช้ในงานด้านเกษตร เช่นการวิเคราะห์ข้อมูลการเพาะปลูก การเก็บเกี่ยว และการจัดเก็บ เพื่อช่วยในการตัดสินใจและการแก้ปัญหา รวมถึงการนำนวัตกรรมใหม่ๆ มาสร้างระบบปฏิบัติการหรืออุปกรณ์ที่ใช้ปรับปรุงในกระบวนการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำการเกษตร ลดการใช้ทรัพยากรและสารเคมี ลดความสูญเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ และเพิ่มผลผลิตทางเกษตรในระดับที่ยั่งยืน ประกอบด้วย แผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

วางรากฐานระบบเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อเกษตรอัจฉริยะ (A3.1)

สนับสนุนการบูรณาการเทคโนโลยีขั้นสูงในการบริหารทรัพยากร วิเคราะห์ วางแผน แก้ไขปัญหาด้านการเกษตร การผลิต และการแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรและอาหาร ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอันเป็นรากฐานของระบบเกษตรอัจฉริยะ เพื่อการตัดสินใจและแก้ปัญหาแบบทันท่วงทีและจำเพาะเจาะจง สำหรับเพิ่มผลิตภาพและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตอย่างยั่งยืน ลดผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นต้นแบบศูนย์กลางด้านนวัตกรรมเทคโนโลยีการเกษตร เช่น การใช้อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT) การจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) ระบบเซ็นเซอร์ ระบบอัตโนมัติและปัญญาประดิษฐ์

แผนงานที่ 2

ยกระดับเกษตรกรสู่ผู้ประกอบการยุคใหม่ (A3.2)

สนับสนุนการพัฒนาเพื่อยกระดับเกษตรกรท้องถิ่นสู่การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรยุคใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาตลอดห่วงโซ่คุณค่าและเกิดการกระจายรายได้ในพื้นที่อย่างแท้จริง ซึ่งนอกจากการทำหน้าที่ในการผลิตสินค้าทางการเกษตรแล้ว ยังต้องเป็นผู้ที่สามารถพัฒนาและสร้างสรรค์ต่อยอดผลผลิตให้มีคุณค่าเพิ่มขึ้น เพิ่มศักยภาพในการผลิต สามารถตอบสนองต่อความต้องการตลาดได้ มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเกษตรอัจฉริยะ มุ่งสู่การการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ตลอดจนพัฒนาขยายบทบาทสู่การส่งออกผลผลิตทางการเกษตรและสินค้าเกษตรแปรรูป

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จึงต้องประกอบไปด้วย 4 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

บุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และตลาดอาหารที่มีความยั่งยืน (A1)

แนวทางที่ 2

พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกที่ยั่งยืน (A2)

แนวทางที่ 3

มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ (A3)

แนวทางที่ 4

ผลักดันการสร้างฮับนวัตกรรมด้านการเกษตร (A4)