บุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และตลาดอาหารที่มีความยั่งยืน (A1)

    นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต จัดการทรัพยากรทางเกษตรอย่างมีประสิทธิภาพโดยเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีความยั่งยืน ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่สร้างคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์และบริการ  โดยคำนึงถึงศักยภาพของชุมชนและการได้ประโยชน์ของเกษตรกรหรือผู้คนในพื้นที่ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักรู้ด้านคุณค่าทางโภชนาการของเกษตรชีวภาพ และผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย แผนงาน ดังนี้

แผนงานที่ 1

โครงการสนับสนุนเกษตรแบบยั่งยืน (A1.1)

ส่งเสริมการเกษตรแบบยั่งยืนและการพัฒนาผลิตภัณฑ์เกษตรอินทรีย์ที่มาจากท้องถิ่น หลีกเลี่ยงการสร้างผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการทำเกษตรแบบยั่งยืนผ่านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยที่ชุมชนและสังคมได้ผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีต่อตัวผลิตภัณฑ์และบริการ สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคเพื่อสอดรับต่อกระแสการเปลี่ยนแปลงด้านสิ่งแวดล้อมของโลก ยกตัวอย่างเทคนิคทางการเกษตร เช่น

  • การทำเกษตรอินทรีย์
  • การทำเกษตรแม่นยำ
  • การควบคุมแมลงศัตรูพืช ด้วยวิธีการทางชีวภาพ
  • การทำเกษตรผสมผสาน หรือเพอร์มาคัลเชอร์ (Permaculture)

แผนงานที่ 2

สร้างความเข้มแข็งให้กับตลาดอาหารอินทรีย์และอาหารท้องถิ่น (A1.2)

กระจายอำนาจในตลาดไปสู่ผู้ประกอบการรายย่อย พัฒนาสร้างความเข้มแข็งร่วมกับภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและอาหาร และเชิงสุขภาพ ผ่านการสร้างตลาดสำหรับอาหารอินทรีย์และอาหารท้องถิ่นที่สนับสนุนเกษตรกรและผู้ประกอบการท้องถิ่นโดยตรง จัดสรรพื้นที่อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงกันระหว่างเกษตรกรและผู้บริโภคง รวมไปถึงนักท่องเที่ยวที่สนใจในการท่องเที่ยวเชิงประสบการณ์ด้านอาหาร และยังเป็นพื้นที่ที่สามารถผลักดันประเด็นด้านคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ มีความปลอดภัยและยั่งยืน สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารได้มากยิ่งขึ้น

แผนงานที่ 3

ส่งเสริมเกษตรแนวตั้งและเกษตรในเมือง (A1.3)

จัดสรรพื้นที่และทรัพยากรด้านการทำเกษตร เพื่อผลักดันการทำเกษตรในพื้นที่แบบเกษตรแนวตั้ง (Vertical farming) เพื่อการใช้พื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด ให้การทำเกษตรสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในตัวเมืองและท้องถิ่น โดยใช้เทคโนโลยีและกระบวนการทางชีวภาพเพื่อเพิ่มปริมาณและคุณภาพผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ทำให้เข้าถึงสินค้าที่ปลอดภัยได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนที่ดินเกษตร ทรัพยากรที่เกี่ยวข้องกับการเพาะปลูก และการขนส่ง รวมไปถึงเป็นการพัฒนาทัศนียภาพในตัวเมืองให้เกิดพื้นที่สีเขียวมากขึ้นผ่านการทำสวนแนวตั้ง เช่น สวนสาธารณะในเมือง สวนบนดาดฟ้า

แนวทาง

เพื่อให้ผลการดำเนินงานเป็นไปตามวัตถุประสงค์และตัวชี้วัดของยุทธศาสตร์ที่ 3 การยกระดับอุตสาหกรรมเกษตรและอาหาร จึงต้องประกอบไปด้วย 4 แนวทาง มีรายละเอียดดังนี้

แนวทางที่ 1

บุกเบิกอุตสาหกรรมเกษตรชีวภาพ และตลาดอาหารที่มีความยั่งยืน (A1)

แนวทางที่ 2

พัฒนาระเบียงอุตสาหกรรมสีเขียว เพิ่มขีดความสามารถการส่งออกที่ยั่งยืน (A2)

แนวทางที่ 3

มุ่งสู่เกษตรแม่นยำ และเกษตรอัจฉริยะ (A3)

แนวทางที่ 4

ผลักดันการสร้างฮับนวัตกรรมด้านการเกษตร (A4)