อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP)

อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยจัดตั้งขึ้นจากข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 7 คณะ อันประกอบด้วยคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ เพื่อเป็นสะพานแห่งการสร้างนวัตกรรม (Bridge for Innovation) ข้ามหุบเหวแห่งความท้าทาย (Valley of Challenge) โดยเชื่อมโยงและผสานการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่กับภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชนสังคมที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัยบนพื้นฐานของการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย (ผลงานวิจัย นักวิจัยและเครื่องมือวิจัย) มาใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าในรูปแบบของการผลักดันองค์ความรู้/งานวิจัยให้เกิดการใช้งานเชิงพาณิชย์ (Research Commercialization) การสร้างธุรกิจเทคสตาร์ทอัพ (Tech Startup) ธุรกิจที่ขับเคลื่อนด้วยนวัตกรรม (Innovation Driven Enterprise) การทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มในองค์รวม (Total Value Creation) และการพัฒนาชุมชนและสังคมอย่างยั่งยืนโดยการบูรณาการองค์ความรู้ งานวิจัย และเทคโนโลยีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยถือเป็นอีกหนึ่งกระบวนการหลักของมหาวิทยาลัยที่เพิ่มเติมขึ้นมา นอกเหนือจากกระบวนการสอนและการทำวิจัยเพื่อความเป็นเลิศทางวิชาการ




วิสัยทัศน์

“เป็นอุทยานวิทยาศาสตร์ชั้นนำของเอเชียที่สามารถใช้ประโยชน์ทรัพยากรของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมและเพิ่มมูลค่าแบบองค์รวม ภายในปี 2570”

"To Become ASIA’s Leading University Science Park Utilizing University Resources for Business Innovation and Total Value Creation in 2027."










พันธกิจ

RESEARCH UTILIZATION ผลักดันและเป็น Platform การใช้ประโยชน์ของงานวิจัยและทรัพยากรในมหาวิทยาลัยในเชิงพาณิชย์

SOLUTION PROVIDER ตอบสนองความต้องการของภาคเอกชน ภาครัฐบาล ภาคประชาสังคมในการนำองค์ความรู้ งานวิจัย เทคโนโลยี ไปใช้พัฒนาธุรกิจ/ชุมชน

INCUBATOR สร้างระบบนิเวศด้าน Startup เพื่อผลักดันให้เกิดธุรกิจนวัตกรรมบนฐานความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยี จากการใช้ทรัพยากรในมหาวิทยาลัย

OPEN INNOVATION มุ่งเน้นการสร้างพันธมิตรและการทำงานร่วมกับหน่วยงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ ด้วยแนวคิดนวัตกรรมแบบเปิด

INFRASTRUCTURE มุ่งยกระดับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสร้างนวัตกรรม ในระดับชั้นนำของเอเชีย

ค่านิยมองค์กร

Simple : การให้บริการที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้อย่างสะดวกรวดเร็วช่วยทำเรื่องที่มีความซับซ้อนให้เป็นเรื่องง่าย สามารถจับต้องผลงานที่เกิดขึ้นได้จริง

Service : การให้บริการที่เน้นการให้ความสำคัญแก่ลูกค้า มุ่งมั่นในการตอบสนองและสร้างความพึงพอใจที่เหนือความคาดหมายของลูกค้า

Sincere : การให้บริการด้วยความจริงใจ ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ต่อคำมั่นสัญญา และทำให้ลูกค้ามีความมั่นใจในการใช้บริการ








กระบวนการทำงาน




กระบวนการข้ามหุบเหวแห่งความท้าทายเพื่อสร้างนวัตกรรม (Approach to Cross Valley of Challenge) โดย อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ทำหน้าที่เป็นสะพานแห่งการสร้างนวัตกรรม (Bridge for Innovation) เพื่อข้ามหุบเหวแห่งความท้าทาย (Valley of Challenge) โดยเชื่อมโยง และผสานการทำงานระหว่างมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กับ ภาคอุตสาหกรรม ภาคเอกชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคประชาชน สังคมที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย บนพื้นฐานของการนำทรัพยากรที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัย (ผลงานวิจัย นักวิจัยและเครื่องมือวิจัย) มาใช้ประโยชน์และสร้างคุณค่าในเชิงการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม



โครงสร้างองค์กร

หน่วยงานความร่วมมือ
( SMEs / Startups / Partner)