ศาสดาต้า พุทธศาสนาและ AI ในงานวิจัยชีวิตจริง

ในที่สุดก็พร้อมให้ทุกคนรับชมผ่านหน้าจอแล้ว สำหรับ “อนาคต” อีกหนึ่งซีรีส์ไทยคุณภาพจาก Netflix เปล่า, วันนี้เราไม่ได้จะมาสปอยล์หรือรีวิวใดๆ แต่เราอยากหยิบเอาหนึ่งในตอนของซีรีส์มาเล่า ถึงจินตนาการในหน้าจอที่สัมพันธ์โลกจริง คือตอนที่มีชื่อว่า “ศาสดาต้า”


โดยถ้าดูจากเทรลเลอร์ ซีรีส์แนะนำกับเราว่า “ศาสดาต้า” จะเล่าถึงเรื่องราวที่เทคโนโลยีจะสังคายนาศาสนา พลิกวิถีพุทธให้ล้ำหน้าด้วยนวัตกรรม โดยในภาพเคลื่อนไหว เราจะเห็นการกล่าวถึงเทคโนโลยีที่สัมพันธ์กับศาสนาและความเชื่อหลายทาง เช่น ระบบสะสมแต้มบุญ, วิปัสสนา Analytics ไปจนถึงสนทนาธรรมทุกเวลากับพุทธ AI ซึ่งแน่นอน, นี่เป็นจินตนาการอันกว้างไกลของผู้สร้าง แต่ก็อดให้เราตั้งคำถามไม่ได้ว่าแล้วในปัจจุบัน เทคโนโลยี นวัตกรรม หรือปัญญาประดิษฐ์ในบริบทของพระพุทธศาสนานั้นเป็นอย่างไรแล้วบ้าง


จากประเด็นนั้นเองที่เราเริ่มค้นคว้า จนได้เจอว่าในปัจจุบันแนวคิดของการบูรณาการระหว่างเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับพุทธศาสนาได้เกิดขึ้นในหลายสถานที่ของโลกแล้ว อีกทั้งยังมีการสนับสนุนจากการวิจัยและความคิดร่วมสมัยในสาขาที่กำลังเติบโตนี้มากขึ้นด้วย ซึ่งโดยหลักๆ มีการนำ AI มาใช้ใน 4 ด้าน ได้แก่


AI ในฐานะเครื่องมือในการทำความเข้าใจคำสอนของพุทธศาสนา - เอาเข้าใจไม่ใช่แค่พุทธศาสนาแต่อย่างใด แต่ในปัจจุบัน AI กำลังปฏิวัติวิธีที่เราเข้าใจภูมิปัญญาโบราณ รวมทั้งคำสอนทางศาสนามากมายแล้ว เนื่องจากความสามารถของ AI ในการประมวลผลและวิเคราะห์ชุดข้อมูลขนาดใหญ่ด้วยความเร็วและความแม่นยำ ช่วยให้มนุษย์เข้าใจในศาสตร์ใหญ่อย่างศาสนาได้ โดยในกรณีของพระพุทธศาสนา AI ช่วยในการสำรวจพระไตรปิฎกและคำสอนทางพุทธศาสนาในเชิงลึกได้ดียิ่งขึ้น ตัดความลำบากอันเนื่องจากปริมาณและความซับซ้อนของเนื้อหาที่พบเจอก่อนหน้าไปหมดสิ้น


การวิเคราะห์ข้อความ - เนื่องจากปัญญาประดิษฐ์ใช้การประมวลผลภาษาธรรมชาติ (NLP) และ Machine Learning ตัว AI เองจึงสามารถช่วยให้นักวิชาการสามารถระบุรูปแบบ ธีม และความเชื่อมโยงในพระคัมภีร์พุทธศาสนาได้ ซึ่งอาจจะไม่สามารถเห็นได้จากวิธีการศึกษาแบบดั้งเดิม ตัวอย่างเช่น AI สามารถวิเคราะห์ความแตกต่างและพัฒนาการของการตีความแนวคิดสำคัญของพุทธศาสนา เช่น "ทุกข์" หรือ "อนัตตา" ในวัฒนธรรมและยุคสมัยต่างๆ ได้อย่างครอบคลุม ช่วยให้มนุษย์เข้าใจการปรับตัวของคำสอนทางพุทธศาสนาตามกาลเวลาและสถานที่ได้มากขึ้น


การเข้าถึงผ่านการแปล - บทบาทของ AI ยังครอบคลุมถึงการขจัดอุปสรรคทางภาษา ที่จำกัดการเข้าถึงพระคัมภีร์พุทธศาสนา โดยการใช้เครื่องมือแปลภาษาอัตโนมัติที่ขับเคลื่อนด้วย AI กล่าวคือในปัจจุบัน เพียงขยับแค่ปลายนิ้วทุกคนทั่วโลกก็สามารถแปลพระคัมภีร์โบราณจากภาษาบาลี ทิเบต และสันสกฤต ไปสูภาษาในปัจจุบันได้หลายภาษา คนจากหลากหลายภูมิหลังทางภาษาจึงสามารถเข้าถึงปรัชญาพุทธได้อย่างเปิดกว้างยิ่งขึ้น


กรณีศึกษาและการใช้งาน - การนำ AI ไปศึกษาในบทพระคัมภีร์พุทธได้เกิดขึ้นแล้วในหลายโครงการ โดยนักวิจัยได้ใช้อัลกอริทึมในการจัดหมวดหมู่และเปรียบเทียบองค์ประกอบของพระไตรปิฎก นออกจากนี้ AI ยังถูกใช้ในการสร้างแผนที่เชิงตรรกะภายในระบบความคิดเห็นที่ครอบคลุม ทำให้เห็นว่าเนื้อความต่างๆ ที่อ้างอิงต่อในบริบทของพระไตรปิฎกด้วย


จะเห็นได้ว่าการนำมาใช้ทั้ง 4 ด้านนี้ เป็นเครื่องพิสูจน์ของความเคลื่อนไหวในปัจจุบันได้เป็นอย่างดี ว่ากำลังเกิดการตัดกันระหว่างปัญญาประดิษฐ์ (AI) กับจริยศาสตร์ของพุทธศาสนา อันเป็นการเปิดโอกาสความเป็นไปได้ใหม่ๆ ให้เกิดขึ้นอีกมากมาย อย่างในแง่ของการข้ามฟากจากพระพุทธศาสนาไปสู่ AI การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ในปัจจุบันก็เริ่มมีการพูดถึงการนำกรอบความคิดทางพระพุทธศาสนามาประยุกต์ใช้ในการวางกรอบความคิดให้ AI แล้ว เช่น การปลูกฝังให้ AI มีศีล 5 เป็นต้น


ส่วนในแง่ของการนำปัญญาประดิษฐ์ก้าวข้ามมาสู่ฝั่งพระพุทธศาสนาเหมือนที่ปรากฏใน “ศาสดาต้า” ปัจจุบันก็เริ่มมีการศึกษาและการทดลองใช้มากขึ้นเช่นกัน อย่างการที่วัดในประเทศญี่ปุ่นมีหุ่นยนต์​ AI สำหรับเทศน์ให้ผู้ที่สนใจฟัง หรืออย่างงานวิจัยล่าสุดที่เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ที่ทดลองว่าผู้ฟังเทศน์รู้สึกอย่างไรกับการฟังเทศน์จากหุ่นยนต์​ AI ก่อนที่ผู้ศึกษาจะพบว่าผู้ศรัทธาเชื่อว่าพระหุ่นยนต์มีความน่าเชื่อถือน้อยกว่าพระที่เป็นมนุษย์อย่างมีนัยสำคัญ อีกทั้งยังรู้สึกว่าหุ่นยนต์ขาดจิตสำนึกในการรู้สึกหรือเชื่อในศาสนาอย่างแท้จริงด้วย


แต่เหนืออื่นใด การศึกษาทั้งหมดนี้ล้วนเน้นย้ำถึงความท้าทายในการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในบทบาทของศาสนา และบ่งชี้ว่ามีความจำเป็นที่มนุษย์ต้องนำเรื่องนี้มาคิดและประยุกต์ใช้อย่างจริงจัง เพราะในเมื่อโลกทัศน์หมุนไปทุกวัน พุทธศาสนาก็เป็นหนึ่งสิ่งที่ต้องหมุนตามโลกไปเช่นกัน