งานวิจัยด้านภูมิศาสตร์อธิบาย เอเวอเรสต์สูงขึ้นจากเดิม 15-50 เมตร และยังจะสูงขึ้นทุกปีเนื่องจากแรงจากใต้พื้นโลก

เชื่อว่าหลายคนน่าจะรู้ว่ายอดเขาที่สูงที่สุดในโลกคือยอดเขาเอเวอเรสต์ ที่มีการระบุตัวเลขความสูงอยู่ที่ 8,849 เมตร แต่รู้ไหมว่าในปัจจุบัน ตัวเลขดังกล่าวได้เปลี่ยนไปแล้ว


เพราะจากการศึกษาล่าสุดโดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยลอนดอน พบว่ายอดเขาเอเวอเรสต์สูงขึ้นประมาณ 15 ถึง 50 เมตร เนื่องจากการยกตัวขึ้นที่เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำใกล้เคียง และตัวเลขที่ว่านี้ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง เพราะการสูญเสียมวลดินที่เกิดจากการกัดเซาะนี้ทำให้ภูเขามีการยุบตัวขึ้นสูงถึง 2 มิลลิเมตรต่อปี และได้เพิ่มความสูงของมันไปแล้วระหว่าง 15 ถึง 50 เมตรในช่วง 89,000 ปีที่ผ่านมา


โดยส่วนหนึ่งของความผิดปกตินี้สามารถอธิบายได้โดย ‘แรงยกตัว’ ที่เกิดจากแรงกดจากใต้ผิวโลกหลังจากที่มีการกัดเซาะของแม่น้ำใกล้เคียงออกไปในปริมาณมาก ผลกระทบนี้เรียกว่า "การฟื้นตัวเด้งของเปลือกโลก (Isostatic Rebound)" ซึ่งเกิดจากแรงจากใต้พื้นโลก เนื่องจากการกัดเซาะที่ทำให้มวลดินสูญเสียไปมาก และเมื่อพื้นที่บางส่วนของเปลือกโลกสูญเสียมวลไป มันจะมีการยุบตัวและค่อยๆ "ลอย" ขึ้นจากแรงที่มาจากด้านล่าง ซึ่งแรงกดนี้จะมากกว่าความดันจากแรงโน้มถ่วง ทำให้กระบวนการเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ โดยปกติประมาณไม่กี่มิลลิเมตรต่อปี แต่ในระยะยาวสามารถทำให้พื้นโลกเปลี่ยนแปลงได้อย่างที่ผลงานวิจัยรายงานออกมา


อีกทั้งรู้ไหมว่าการยกตัวนี้ไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่ยอดเขาเอเวอเรสต์เท่านั้นด้วยนะ แต่ยังมีผลกระทบต่อยอดเขาใกล้เคียง เช่น Lhotse และ Makalu ด้วย ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดอันดับสี่และห้าที่ของโลกตามลำดับ โดยการฟื้นตัวเด้งของเปลือกโลกทำให้ความสูงของยอดเขาต่างๆ เพิ่มขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงกันกับที่เกิดขึ้นกับยอดเขาเอเวอเรสต์นั่นเอง