ทางแก้ใหม่ต่อปัญหาสภาพอากาศ จัดการคาร์บอนโดยฝังซุงใต้ดิน ประหยัดกว่าเทคโนโลยีเดิม 3 เท่าและคนทั่วไปก็ทำได้

ย้อนเวลากลับไปเมื่อปี 2013 Ning Zeng นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจากมหาวิทยาลัยแมรี่แลนด์และทีมงาน ได้ค้นพบไม้ซุงเก่าแก่จากการในเมืองควิเบก ประเทศแคนาดา ในระหว่างที่พวกเขากำลังขุดร่องเพื่อเตรียมการบรรจุไม้ซุงที่เตรียมมาลงในดินพอดี


ทำไมเชงถึงกำลังจะฝังไม้ซุง? แล้วการเจอซุงใหญ่ใต้ดินระหว่างขุดสำคัญอย่างไร? คำตอบของเหตุการณ์ ชี้ไปที่คำว่า “การเก็บกักคาร์บอนที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน”


สาเหตุเพราะการขุดในครั้งนั้น คือการทดลองของเชงและทีมงานที่ตั้งจะฝังซุงไม้ไว้ในดินเหนียวและปล่อยให้มันอยู่ในสภาพนั้นเป็นเวลา 9 ปี เพื่อทดสอบว่าซุงไม้จะไม่สลายตัว และการฝังวัสดุชีวมวลอย่างซุงครั้งนี้ อาจเป็นวิธีราคาถูกและมีประสิทธิภาพในการเก็บกักคาร์บอนที่ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน ซึ่งนั่นเองที่ทำให้เมื่อขุดจนถึงชั้นดิน แล้วพบต้นซุงที่ยังคงอยู่ในสภาพดีนอนรออยู่แล้ว การทดลองของเขาจึงเหมือนจะสำเร็จตั้งแต่ยังไม่ได้ทำ แต่อย่างไรก็ตาม พวกเขาก็ยังต้องทำตามแผนเดิมของงานวิจัยระยะยาวชิ้นนี้ จนเวลาผ่านไปถึงปัจจุบัน ล่าสุดผลการวิจัยดังกล่าวก็ได้ตีพิมพ์และบอกเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นเสียที


โดยเชงได้บรรยายว่าต้นซุงที่ทีมของเขาพบคือส่วนหนึ่งของต้นซีดาร์ตะวันออก (Eastern red cedar) ซึ่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศและแปรเปลี่ยนเป็นเนื้อไม้เมื่อประมาณ 3,775 ปีที่แล้ว ตามรายงานการศึกษาในวารสาร Science เมื่อวันที่ 24 กันยายน โดยซุงนี้ถูกฝังอยู่ใต้ดินเหนียวไม่ถึง 2 เมตรนานนับศตวรรษและยังคงรักษาคาร์บอนอย่างน้อย 95 เปอร์เซ็นต์ไว้ได้ ดังนั้นท่อนซุงชิ้นนี้จึงเป็นผลการวิจัยของเขา ที่ดีกว่าท่อนซุงที่ทีมวิจัยเพิ่งฝังไปเสียอีก


โดยผู้วิจัยอย่างเชงได้ให้ข้อสันนิษฐานว่าดินเหนียวที่มีความแน่นหนานั้นน่าจะช่วยป้องกันออกซิเจนไม่ให้เข้าถึงต้นซุงจนเสื่อมสภาพ ดังนั้นแค่เพียงขุดหลุมลึกไม่กี่เมตร การฝังซุงไม้แลเก็บรักษาก็สามารถเกิดขึ้นได้ อีกทั้งผู้คนทั่วไปก็สามารถทำได้เอง โดยเขายังได้คำนวนไว้ด้วยว่าการฝังซุงไม้อาจมีค่าใช้จ่ายเพียง 30 ถึง 100 ดอลลาร์ต่อเมตริกตันของก๊าซเรือนกระจก ดังนั้นนี่จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่าการพัฒนาเทคโนโลยีการดักจับก๊าซเรือนกระจกจากอากาศโดยตรง ซึ่งมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 100 ถึง 300 ดอลลาร์ต่อเมตริกตัน


“นักวิทยาศาสตร์และผู้ประกอบการต่างก็พิจารณาการฝังซุงไม้เป็นทางออกด้านสภาพอากาศมาช้านาน การศึกษางานใหม่ชิ้นนี้แสดงให้เห็นว่ามันเป็นไปได้” Daniel Sanchez นักวิทยาศาสตร์ด้านสิ่งแวดล้อมจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ได้ความเห็นถึงงานวิจัยนี้ซึ่งเป็นการสรุปได้เป็นอย่างดี “นี่คือทางเลือกด้านการรักษาาสภาพอากาศที่มีความทนทานและมีค่าใช้จ่ายต่ำ ดังนั้นเราอาจพิจารณามันเป็นความหวังได้ ในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เป็นปัญหาหลักของโลกในปัจจุบัน”