ในที่สุดพัฒนาการของแผงโซลาร์เซลล์ก็พัฒนาไปอีกขั้น เมื่อล่าสุดเหล่านักวิจัยจากสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งชาติของญี่ปุ่น (AIST) ได้ประดิษฐ์แผงโซลาร์เซลล์แผงแรกของโลก ที่ ‘บาง’ มากเสียจนเอาไปเคลือบวัตถุอื่นๆ ได้ เพื่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าแบบพกพา
ในงานวิจัยดังกล่าว ผู้วิจัยได้อธิบายว่าแนวทางที่ก้าวล้ำนี้ สามารถสร้างโซลาร์เซลล์ที่บางกว่าแผงโซลาร์เซลล์ที่บางที่สุดในปัจุบบันถึง 150 เท่า คือนวัตกรรมใหม่นี้หนาเพียงแค่หนึ่งไมครอน (0.001 มิลลิเมตร) เท่านั้น แถมความบางที่ลดลง ไม่บกพร่องในแง่ของการสร้างพลังงานอีกต่างหาก
สำหรับเคล็ดลับเบื้องหลังนวัตกรรมนี้ มาจากการที่พวกเขาได้ลองสร้างวัสดุโซลาร์เซลล์แบบใหม่ขึ้นมา ที่มาชื่อว่า ‘โครงสร้างเพอร์รอฟสไกต์’ โดยเป็นวัสดุที่สามารผลิตได้ในห้องปฏิบัติการ อีกทั้งยังมีราคาถูกกว่าการผลิตโซลาร์เซลล์แบบเดิม และมีประสิทธิภาพในการแปลงแสงแดดเป็นพลังงานถึง 27 % ทั้งที่ก่อนหน้านี้วัสดุที่นิยมอย่างซิลิคอนมีประสิทธิภาพเพียงแค่ 22 % เท่านั้น
โดยการได้ค้นพบนวัตกรรมครั้งนี้สร้างความตื่นเต้นให้กับผู้ศึกษาอย่างมาก เนื่องจากโซลาร์เซลล์ที่บางพอเคลือบวัตถุ นำพามาซึ่งจินตนาการใหม่มากมาย อย่างที่ผู้ศึกษาได้ระบุในงานวิจัย ว่าวัสดุโซลาร์เซลล์นี้สามารถเคลือบได้ตั้งหลังคารถยนต์ หลังคาบ้าน ไปจนถึงด้านหลังของโทรศัพท์มือถือ
น่าจับตามองอย่างยิ่ง ว่านวัตกรรมใหม่นี้จะกลายไปใช้ประโยชน์อะไร เพราะไม่แน่นะ ในอนาคตอันใกล้ เราอาจไม่ต้องชาร์จโทรศัพท์เพื่อใช้งานในยามค่ำคืน เพราะแบตเตอรี่ถูกชาร์จในช่วงกลางวันแล้วนั่นเอง