ปีนี้ลองมากินเจกันไหม "กินเจ" ลดโลกร้อน ฮีโรยุคใหม่ สไตล์เฮลที

ปีนี้ลองมากินเจกันไหม "กินเจ" ลดโลกร้อน ฮีโรยุคใหม่ สไตล์เฮลที 


        #เทศกาลกินเจ! ได้เริ่มขึ้นแล้วตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคมที่ผ่านมา ไปจนถึง 23 ตุลาคม 2566 นี้ ซึ่งในปัจจุบันไม่ใช่เพียงแต่พี่น้องเชื้อสายจีนกันแล้ว แต่ลูกหลานไทยแท้ๆ ก็หันมาสนใจกินเจกันมากขึ้น

        แต่หลายๆคนอาจจะยังไม่รู้ว่า... การกินเจ ก็สามารถช่วยลดโลกร้อนได้ง่ายๆด้วยนะ! และในปัจจุบันก็มีนวัตกรรมและเทคโนโลยีตัวช่วยหลายอย่าง ที่สามารถทำให้เรากินเจได้อย่างอร่อย สุขภาพดี ไม่ตกเทรนด์ และยังรักษ์โลกอีกด้วย 



#เทศกาลกินเจ

        เทศกาลกินเจ เป็นวัฒนธรรมที่ทำสืบต่อกันมาในคนไทยเชื้อสายจีนและในหลายๆประเทศโซนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย สิงค์โปร์ มาเลเซีย ซึ่งตามหลักแล้วการกินเจ คือ การถือศีลงดเว้นจากการบริโภคเนื้อสัตว์ชนิดต่างๆ ห้ามเสพของมึนเมาและห้ามกินผักฉุนที่มีกลิ่นแรง 5 ชนิด เช่น กระเทียม หัวหอม กุยช่าย หลักเกียว ใบยาสูบ เป็นต้น 

        การถือศีลกินเจ เป็นความเชื่อที่ชาวจีนร่วมกันถือศีลในเดือน 9 เป็นเวลา 9 วัน เพื่อรำลึกถึงบุญคุณของบรรพบุรุษผู้นำกองทัพ ทั้ง 9 คน ที่ปกครองชาวจีนในสมัยแมนจูนั่นเอง 



#กินเจดีกับสุขภาพยังไง

เป็นการปรับพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพ ให้ร่างกายสมดุล 

เป็นการฟื้นฟูสุขภาพ ขับสารพิษออกจากร่างกาย

ช่วยระบบย่อยอาหารและระบบขับถ่ายให้กลับมาทำงานปกติมากขึ้น

ลดการรับสารปนเปื้อนจากเนื้อสัตว์ และหันมาทานผักมากขึ้น


#กินเจลดโลกร้อนได้จริงหรอ

        สาเหตุหลักของการทำให้เกิดภาวะโลกร้อน คือ #ก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็น การตัดไม้ทำลายป่า การทำอุตสาหกรรม นักวิทยาศาสตร์ค้นพบว่า #การทำปศุสัตว์ นี่แหละ ที่เป็นหนึ่งในสาเหตุหลักก่อให้เกิด #ภาวะโลกร้อน! เนื่องจาก..

        การผลิตเนื้อสัตว์ไม่ว่าจะเป็น เนื้อวัว หมู ไก่ รวมถึง นม ไข่ ล้วนส่งผลให้เกิดก๊าซมีเทนสาเหตุของภาวะเรือนกระจก

        การทำอุตสาหกรรมทำฟาร์มขนาดใหญ่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เนื่องจากมีการปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำหรือฝุ่นควัน จากโรงงาน และใช้พื้นที่ขนาดใหญ่ในการสร้างจึงต้องมีการตัดไม้ ทำลายป่ามากขึ้น

        การเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว วัวสามารถผลิตก๊าซมีเทนเฉลี่ย 70-120 กิโลกรัมต่อปี จากการผายลมของวัวแค่ตัวเดียว ก่อให้เกิดก๊าซมีเทนเป็นจำนวนมาก เป็นปัญหาระดับโลก อันดับ 2 รองจากก๊าซคาร์บอนเลย!


#กินเจช่วยโลกยังไง

ช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทน 

        นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ด โจเซฟ พูร์ และโทมัส เนเมเซ็ค ได้เผยแพร่รายงานในปี 2018 ซึ่งสรุปว่า การผลิตอาหารมีส่วนรับผิดชอบการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกถึงร้อยละ 26 โดยมีสัดส่วนของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 13.5 ล้านตัน การลดการผลิตและบริโภคอาหารที่ทำจากสัตว์จะช่วยลดการปล่อยก๊าซมีเทนได้เป็นจำนวนมากนั่นเอง

ช่วยลดการตัดไม้ทำลายป่า

        ยิ่งมีมนุษย์จำนวนมากขึ้น การปศุสัตว์ก็ยิ่งขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นพื้นที่ในการทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ก็มากขึ้นเช่นกัน ซึ่งสิ่งนี้เองอาจให้เกิดการตัดไม้ทำลายป่าได้ หากลดการสร้างอุตสาหกรรม การทำฟาร์มปศุสัตว์ ก็จะช่วยสิ่งแวดล้อมได้มากขึ้น

ช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ

        การทานโปรตีนจากพืชมีประสิทธิภาพและผลิตที่ได้ ง่ายกว่าโปรตีนจากสัตว์ เพราะการปลูกพืชเพื่อการบริโภคของมนุษย์ จะลดกระบวนการรับอาหารได้โดยไม่ต้องผ่านโรงงานแปรรูป ใช้พื้นที่น้อย ใช้พลังงานน้อย และน้ำน้อยกว่าการเลี้ยงและฆ่าสัตว์เพื่อเป็นอาหารนั่นเอง

ช่วยลดการใช้น้ำที่สิ้นเปลือง

        UNFAO ค้นพบว่าการผลิตอาหารสำหรับคนกินเนื้อสัตว์ ต้องใช้น้ำวันละมากกว่า 4,000 แกลลอน ในขณะที่การเกษตร ปลูกผักผลไม้ต่าง ๆ ใช้น้ำเพียง 300 แกลลอนเท่านั้น เพราะฉะนั้นแล้ว หากคนลดการทานเนื้อสัตว์แล้วหันมากินเจกันมากขึ้น อาจช่วยลดการใช้น้ำที่สิ้นเปลืองได้นั่นเอง 

ช่วยลดการใช้พลังงานเชื้อเพลิง

        การรับประทานโปรตีนในธัญพืชที่ปลูกบนดิน จะใช้พลังงานอย่างมากก็แค่จากการขนส่งเท่านั้น! ซึ่งใช้พลังงานเชื้อเพลิงน้อยกว่ากระบวนการผลิตเนื้อสัตว์เพราะการแปรรูปส่งโรงฆ่าสัตว์นั้นจะใช้พลังงานเชื้อเพลิงเป็นจำนวนมาก



#howtoกินเจยุคใหม่ไม่ให้จำเจอีกต่อไป! 

        ปัจจุบันโลกเรามีนวัตกรรมอาหารที่ยั่งยืนอยู่มากมาย ทีสามารถทำให้การ #กินเจ ของเราไม่น่าเบื่ออีกต่อไป! และที่สำคัญ อาจเป็นทางเลือกใหม่ที่ทำให้เราไม่จำเป็นต้องกินเฉพาะเทศกาลกินเจเท่านั้น มีอะไรบ้าง มาดูกัน 

Plant-based (โปรตีนจากพืช)

        Plant-based คือ นวัตกรรมอาหารที่ทำจากพืช มีการเลียนแบบหน้าตา รสชาติ เนื้อสัมผัส เหมือนกับเนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็น เนื้อวัวจากพืช เนื้อหมูจากพืช เนื้อไก่จากพืชและอื่นๆอีกมากมาย 

        การทานโปรตีนจากพืชนั้น ยังให้สารอาหารที่ครบถ้วน มีไขมันดี มีโปรตีนและไฟเบอร์จำนวนมาก ที่ช่วยในการย่อยอาหารและขับถ่าย

Sea Plants (พืชทะเลกินได้) 

        พืชทะเลที่กินได้ กำลังกลายเป็นเทรนด์อาหารที่ได้รับความนิยม โดย Whole Foods คาดการณ์ว่าสาหร่ายทะเลจะโตมาก เราอาจจะได้พบผลิตภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลมากขึ้น

        สาหร่ายเป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง และยังดีต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย เพราะสาหร่ายสามารถดูดซับคาร์บอนในชั้นบรรยากาศได้และไม่ต้องการน้ำจืดหรือสารอาหารเพิ่มเติมก็สามารถอยู่ได้

Sustainable Seafood (อาหารทะเลที่ยั่งยืน) 

        อาหารทะเลแบบยั่งยืน เป็นอาหารที่ได้รับมาตรฐานการทำประมงอย่างมีความรับผิดชอบ เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม รวมถึงหากเป็นฟาร์มปลาจะต้องไม่สร้างมลพิษจากการเลี้ยง ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนนั่นเอง

Salicornia salt (เกลือจากพืช)

        Salicornia salt เป็นเกลือที่ได้มาจากพืชทะเลที่รู้จักกันในนามว่า “แซมไฟร์” หรือ “ถั่วทะเล” เป็นพืชที่เติบโตตามธรรมชาติ มีโซเดียมน้อยกว่าเกลือทั่วไปที่เราใช้ปรุงอาหารกัน

Plant milk (นมจากพืช) 

        น้ำนมพืช เป็นการสกัดจากพืช โดยจะให้โปรตีนแทนน้ำนมจากสัตว์ ปราศจากน้ำตาลแลกโตส เช่น นมอัลมอนด์ นมข้าว นมข้าวโอ๊ต หรือโยเกิร์ตจากน้ำนมพืช ที่ปัจจุบันนิยมกันอย่างมาก เพราะมีโปรตีนและคุณค่าทางโภชนาการสูง ช่วยลดระดับคลอเรสเตอรอล ไขมันต่ำ

Organic Food (พืชผักออร์แกนิก) 

        ผักออกร์แกนิก เป็นผลผลิตธรรมชาติที่ปราศจากสารเคมี ไม่มีการตัดแต่งพันธุกรรม (Non-GMO) ไม่ใช้ปุ๋ยเคมี ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง ไม่ใช้ฮอร์โมน และไม่ผ่านการฆ่าเชื้อโรคด้วยการฉายรังสี ปลูกด้วยวิธีการธรรมชาติและยังสามารถปลูกเองได้ที่บ้านอีกด้วย

Solar Foods (ผงโปรตีนจากคาร์บอน)

        เป็นแป้งโปรตีนจากคาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า Solein (โซลีน) เป็นผงแป้งสีเหลือง เหมือนแป้งสาลีทั่วไป มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบ 60 - 70% ส่วนประกอบที่เหลือจะเป็นกรดไขมันและไฟเบอร์ เป็นผงที่สามารถนำไปทำอาหารได้ทุกชนิด และที่สำคัญ ในขั้นตอนการผลิตนั้น ไม่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย



        เพื่อให้การกินเจ ไม่น่าเบื่ออีกต่อไป! นี่อาจเป็นเพียงจุดเริ่มเต้นเล็กๆเท่านั้นก็ได้นะ จะลองหันมาดูแลสุขภาพตอนนี้ก็ยังไม่สาย... ได้ทั้งหุ่นที่ดี สุขภาพที่ดี แถมยังช่วยโลกได้อีกด้วย 

#CMUSTeP #MakeInnovationSimple  #CreativeSTeP  #plantbased   #healthyeating #food #กินเจ  #ช่วยโลก  #รักษ์โลก  #เทศกาลกินเจ  #ภาวะโลกร้อน

   

อ้างอิงข้อมูลจาก : 

UNFAO

https://ngthai.com/environment

https://www.thairath.co.th/lifestyle