"ไม่จากกันวันนี้ วันหน้าก็ต้องจากกันอยู่ดี" -- ประโยคเด็ดกินใจจากภาพยนตร์เรื่อง “สัปเหร่อ” ไทบ้านเดอะซีรีส์ ที่กำลังมาแรงที่สุดในตอนนี้ !!
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า ยังมีอีกหลายคนที่อาจไม่เข้าใจถึงความเป็น #สัปเหร่อ ที่ต้องเกี่ยวพันกับปลายทางของชีวิตอย่าง “ความตาย” แล้วสัปเหร่อคืออะไร? ในทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์การจะดูแลศพมีขั้นตอนอย่างไร? การจะเผาศพจะต้องใช้อุณหภูมิสูงสุดเท่าไหร่? ถ้าการเผาศพแบบเดิมๆ ทำให้เกิดมลพิษกับโลก แล้วต่อไปไม่มีสัปเหร่อจะเป็นยังไง?
งานวิจัยของทวีศักดิ์ วรฤทธิ์เรืองอุไร เรื่อง "สัปเหร่อกับการจัดการศพของชุมชน" คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สัปเหร่อ คือ
ผู้ที่ทำหน้าที่แปรสภาพสังขารร่างกายของคนที่ตายไปแล้วให้สูญสลายไปจากโลกอย่างสิ้นเชิง
“สัปเหร่อ” คำนี้มีที่มาจากภาษาเขมร ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยแปลงมาจากคำว่า สัปบุรุษ หรือ สัปเรอ ซึ่งแปลว่า “คนดี” เพราะผู้ที่จะเป็นสัปเหร่อได้นั้นนอกจากจะต้องมีจิตใจที่ดี เสียสละแล้ว ยังต้องมีความกล้าหาญอีกด้วย
ในรัชกาลที่ 5 จากคำว่า สัปเรอ ซึ่งบางคนก็จะเรียกกันว่า “นายป่าช้า” เพราะต้องอาศัยอยู่บริเวณป่าช้าเพื่อแปรสภาพร่างกายของผู้วายชนม์เป็นส่วนมากก็ถูกเปลี่ยนเป็นคำว่า “สัปเหร่อ” แทน
พ.ศ. 2460 รัฐสยามได้ประกาศใช้ “กฎหมายเสนาบดีกระทรวงนครบาลว่าด้วยป่าช้าแลนายป่าช้า” ซึ่งทำให้ “นายป่าช้า” หรือ “สัปเหร่อ” มีหน้าที่ในการจัดการศพอย่างเป็นทางการ และกลายมาเป็นอาชีพที่เรารู้จักกันจนถึงตอนนี้นั่นเอง
ราชการกำหนดให้มีหน้าที่ สัปเหร่อ เป็นงานประเภทที่ ๕ คือพนักงานบริการ คือเป็นพนักงานให้บริการในเรื่องส่วนบุคคลและบริการด้านการป้องกันภัยกำหนดเป็น "สัปเหร่อและเจ้าหน้าที่ฉีดยาศพ" ทำหน้าที่จัดการเผาและฝัง รักษาไม่ให้เน่าเปื่อยด้วยการฉีดสารเคมีในร่าง รวมถึงการทำพิธีต่างๆ เกี่ยวกับการจัดการร่างผู้วายชนม์
“สัปเหร่อ” เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับมนุษย์เรามาอย่างยาวนาน ต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะบุคล มีบทบาทหน้าที่ที่สำคัญ แต่เพราะมันไม่ใช่งานในฝันของคนทั่วไป ไม่ใช่ใครก็ทำได้เป็นงานที่เกี่ยวพันกับความตาย แต่ในวาระสุดท้ายของชีวิตเราทุกๆคน ก็คงหนีไม่พ้นสัปเหร่อ
เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งซึ่งมีพิษ ประกอบด้วยก๊าซฟอร์มาลดีไฮด์ (formaldehyde) ละลายน้ำด้วยความเข้มข้นร้อยละ 37 โดยน้ำหนัก และมีเมทิลแอลกอฮอล์ (methyl alcohol)ประมาณร้อยละ 10-15 เป็นองค์ประกอบด้วย มีลักษณะเป็นน้ำใส มีกลิ่นฉุน แสบจมูกและตา ใช้เป็นน้ำยาทำลายเชื้อโรค อันตรายกับสิ่งมีชีวิตและมีกฏที่ใช้ได้เฉพาะทางการแพทย์เท่านั้น!!
ตามหลักวิทยาศาสตร์ในทางการแพทย์การฉีดสารฟอร์มาลิน จะเป็นการฉีดเข้าไปตามเส้นเลือดแดงใหญ่ของร่างผู้วายชนม์ เพื่อไม่ให้เน่าเปื่อย จากนั้น สารฟอร์มาลินก็จะกระจายไปตามเนื้อเยื่อต่างๆ เพื่อฆ่าเชื้อโรคและทำให้โปรตีนในร่างกายแข็งตัว ซึ่งฟอร์มาลิน เป็นสารเคมีที่เป็นอันตรายกับสิ่งมีชีวิตที่ยังมีชีวิตอยู่อย่างมาก ถ้าฉีดเข้าไปในร่างกายคนที่ยังมีชีวิตสารจะเปลี่ยนรูปเป็นกรดฟอร์มิคและทำลายเซลล์ในร่างกายจนตาย ดังนั้น จะต้องใช้ในการฉีดศพเท่านั้น!
เตาเผาปลอดมลพิษ : AAR (After Action Review) คือ เตาเผาแบบ 2 ห้องเผา เพื่อป้องกันมลพิษจากการเผา โดยห้องเผาแรกจะไว้เผาร่างของผู้วายชนม์ ส่วนห้องเผาที่สองคือห้องสำหรับเผาควัน หลักการก็คือ เมื่อเกิดควันจากห้องเผาศพ ควันจะลอยขึ้นตามช่องมาสู่ห้องที่สอง จะมีหัวเผา (Burner) พ่นไฟออกมาเพื่อเผาควันซ้ำอีกครั้ง และต้องมีอัตราการกักเก็บซ้ำเพื่อเผาอย่างน้อย 1 วินาที
*เกล็ดความรู้* อัตราการใช้เชื้อเพลิงนั้นขึ้นอยู่กับลักษณะและขนาดของร่างผู้วายชนม์ รวมถึงการถอดปลั๊กไฟจากโลงเย็นอีกด้วย เพราะหากร่างผู้วายชนม์ยังมีความเย็นและแข็งอยู่มากก็จะทำให้สิ้นเปลืองพลังงานเชื้อเพลงในการเผามากขึ้นไปอีก
ในการเผา 1 ครั้ง จะเกิดสารไดออกซินและฟิวแรน ที่เป็นมลพิษจากการเผาไหม้แบบไม่สมบูรณ์ ซึ่งเป็นการใช้เชื้อเพลิงอย่างสิ้นเปลือง นอกจากจะเกิดเขม่าควันดำแล้วนั้น ยังเกิดก๊าซพิษและฝุ่นละออง ขี้เถ้าจากการเผาไหม้และกลิ่นจากสารอินทรีย์ โลหะหนักเช่น ปรอทและตะกั่วอีกด้วย
ประโยคที่ว่า “เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก” ซึ่งก็อธิบายความหมายของอาชีพสัปเหร่อได้ดี เหมือนตอนที่เราลำบากที่สุดอย่างตอนเราตายแล้วเขาเข้ามาอยู่เป็นเพื่อน ‘เพื่อนตาย’ซึ่งในอาชีพสัปเหร่อ ในทุกๆขั้นตอน จะต้องทำด้วยใจบริสุทธิ์ ทำเพื่อทั้งคนเป็นและคนตาย เพื่อการจากลงครั้งสุดท้ายให้ดีที่สุด เพราะทุกคนคงหนีไม่พ้นสัปเหร่อ ตัวสัปเหร่อเองก็ไม่พ้นสัปเหร่อเช่นกันตายไปสัปเหร่อต้องเผา คนเราอยู่บนโลกมนุษย์เราอยู่ตัวคนเดียวไม่ได้ สิ่งที่จะอยู่กับเราจนวินาทีสุดท้ายจนเราเข้าเตาเผาเป็นเถ้าเป็นถ่านก็คือ สัปเหร่อ
แม้ปัจจุบันผู้คนที่ประกอบอาชีพ “สัปเหร่อ” จะลดลงไปอย่างมาก เนื่องจากความหวาดกลัว ความเชื่อ หรือเทรนด์ ฯลฯ แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สัปเหร่อยังเป็นอีกหน้าที่หนึ่งที่ขาดไม่ได้ เพราะในทุก ๆ วันจะมีคนเสียชีวิตเพิ่มอยู่ทุกวัน และคนที่จะเข้ามาเชื่อมโยงระหว่างคนเป็นกับคนตาย ก็คือ “สัปเหร่อ” ทั้งนี้ จึงอยากพามารู้จักกับวิธีจัดการความตายแบบมีทางเลือกในโลกสมัยใหม่! ที่นอกเหนือจากการเผาที่เรารู้จักกัน โดยมีการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเพื่อคำนึงถึงสภาพแวดล้อมป้องกันมลพิษที่เกิดจากการเผาและยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
Eternal Reefs บริษัทรับทำศพในรัฐฟลอริดาของสหรัฐฯ มีแนวคิดสร้างสรรค์ในการจัดการกับร่างกายหรือเถ้ากระดูกที่สามารถก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมได้นอกเหนือไปจากการจัดงานศพด้วยวิธีการดั้งเดิม ด้วยการแปลงสภาพร่างที่ไร้วิญญาณไปเป็นปะการังเทียมรูปโดม เพื่อเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตใต้ทะเลนอกชายฝั่ง
เป็นการทำศพด้วยวิธีย่อยสลายตามธรรมชาติ ที่ช่วยลดการปล่อยคาร์บอนและช่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้อีกด้วยRecompose บริษัทในนครซีแอตเทิล รัฐวอชิงตัน ที่พัฒนาเทคโนโลยี ทำให้ศพย่อยสลายกลายเป็นดินปุ๋ยชั้นดี เหมาะสำหรับนำไปทำสวนและเพาะปลูก โดยมีกรรมวิธีคือ การนำศพเข้าเก็บในช่องรูปทรงกระบอกทำจากเหล็กที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ แล้วกลบร่างของผู้เสียชีวิตด้วยเศษไม้และพืชตระกูลถั่วที่เรียกว่า "อัลฟัลฟา" (alfalfa) จากนั้นก็ควบคุมระดับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน ความร้อน และความชื้นในช่องเก็บศพเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรีย
เป็นการพัฒนาสร้างทางเลือกใหม่ที่ไม่เหมือนใคร ด้วยบริการขนส่งทางอวกาศเป็นการส่งเถ้ากระดูกของตัวเองขึ้นสู่ห้วงอวกาศบริษัท Celestis ในสหรัฐฯ จะทำการส่งเถ้ากระดูกผู้เสียชีวิตไปพร้อมกับภารกิจอวกาศต่าง ๆขององค์การนาซา เพื่อให้สามารถนำไปปล่อยสู่วงโคจรของโลก หรือห้วงอวกาศที่อยู่เหนือไปกว่านั้นได้
เป็นนวัตกรรมแนวทางการแก้ปัญหาในข้อจำกัดของเมืองประเทศญี่ปุ่น ซึ่งในปี 1999 มีวัดชื่อ Shōunji ได้เสนอพิธีศพที่เรียกว่า Jumokusō หรือการฝังใต้ต้นไม้ คือจะมีการเผาแล้วนำเถ้าฝังลงในดินพร้อมปลูกต้นไม้ขึ้นมา การฝังศพโดยมีต้นไม้และผืนป่าเป็นองค์ประกอบของการหลับครั้งสุดท้ายแทนการมีป้ายหินหรือสิ่งประดับอื่นๆ อย่างที่พบเห็นได้ในสุสานทั่วไป การฝังศพพร้อมกับการปลูกจะสามารถช่วยพัฒนาพื้นที่ป่าจากที่ดินรกร้างได้ รวมถึงเป็นการป้องกันการพัฒนาที่รุกล้ำพื้นที่ธรรมชาติได้อีกด้วย
คือ การนำร่างเข้าสู่กระบวนการ อัลคาไลน์ ไฮโดรไลซิส (alkaline hydrolysis) แทนการเผาเพื่อลดการปล่อยมลภาวะสู่ชั้นบรรยากาศ โดยการต้มน้ำผสมสารโปแตสเซียมไฮดรอกไซด์ ที่อุณหภูมิ 150 องศาเซลเซียส นาน 3-4 ชั่วโมง ปฏิกิริยาเคมีจะย่อยสลายเนื้อเยื่อจนเหลือแต่กระดูก
ในทุกๆการสูญเสีย คนที่ยังอยู่มักเจ็บปวดกว่าเสมอ แต่หากจะมีวิธีไหนที่ทำให้ความเจ็บปวดน้อยลงไปได้บ้าง.. การดูแลในช่วงเวลาสุดท้ายจาก “สัปเหร่อ” นี่แหละที่จะช่วยเยียวยาคนที่ยังอยู่ได้! ผู้ที่เป็นเหมือนเพื่อนคนสุดท้ายนั่นเอง
#CMUSTeP #MakeInnovationSimple #CreativeSTeP #สัปเหร่อ #ความตาย #เพื่อนตาย #ฟอร์มาลิน #TheUndertaker #ไทบ้านเดอะซีรีส์ #หนังไทย #วิทยาศาสตร์กับความตาย
อ้างอิงข้อมูลจาก :
https://www.springnews.co.th/lifestyle/movie-series/844424
https://mgronline.com/entertainment/detail/9660000094548
https://www.gotoknow.org/posts/253231
https://www.the101.world/the-undertaker-and-there-is-no-formula/