แค่เห็นฝนกำลังโปรยลงมาหรือได้ยินเสียงฝนตกกระทบบนหลังคา ความรู้สึกที่สดชื่นสนุกสนานก็หายไปหมด เหลือแต่ความเหงาหงอยไว้ในใจ...
เคยสังเกตกันไหม? ว่าในวันที่อากาศร้อน เรามักจะรู้สึกหงุดหงิด วันที่ท้องฟ้าแจ่มใส เราจะรู้สึกปลอดโปร่ง แต่วันที่ฝนตก เรามักรู้สึกเหงาหรือคิดถึงใครบางคนขึ้นมา เพราะสภาพอากาศที่แปรปรวน ส่งผลต่ออารมณ์ของเราไม่น้อยเลยทีเดียว ... วันนี้ STeP อยากชวนทุกคนมาดูความเชื่อมโยงระหว่าง ‘ฝน’ กับ ‘อารมณ์’ ว่าทำไมเวลาฝนตกแล้วทำให้เรา #เหงา มากกว่าเดิม !?
สภาพอากาศส่งผลกับอารมณ์และความรู้สึก
นิโคลัส เกแก็ง (Nicholas Guéguen) นักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสที่วิจัยเกี่ยวกับสภาพอากาศส่งผลต่ออารมณ์ขิงมนุษย์อย่างไร ในปี 2017 อธิบายว่าเพราะปัจจัยของแสงอาทิตย์ในช่วงฤดูหนาวหรือฤดูฝน ทำให้การผลิตฮอร์โมนเซราโทนิน (Seratonin) ซึ่งสัมพันธ์กับการที่ร่ายกายได้สัมผัสแสงอาทิตย์นั้นลดน้อยถอยลง และเนื่องจากหนึ่งในหน้าที่ของฮอร์โมนเซราโทนินนั้นคือการปรับสมดุลอารมณ์ การหายไปของมันจึงส่งผลต่อความรู้สึกภายในของเรา โดยจะเรียกอาการเหล่านี้ว่า "โรคSeasonal Affective Depression, (SAD)"
#เซโรโทนิน (Serotonin) คือ ?
เป็นสารที่มีผลต่ออารมณ์และความรู้สึก มีหน้าที่ควบคุม ความรู้สึกเจ็บปวด ความเบื่อหรืออยากอาหาร การนอนหลับ ความรู้สึกสุขสงบ และช่วยระงับความโกรธ ความก้าวร้าว ดังนั้น ถ้าร่างกายมีเซโรโทนินต่ำก็จะส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม อาจทำให้เกิดความเครียด วิตกกังวล หม่นหมอง หรือ เกิดอาการซึมเศร้าได้เลยทีเดียว
#sad?
โรค Seasonal Affective Depression, (SAD) คือ ภาวะเศร้าตามฤดูกาล เป็นโรคทางอารมณ์ชนิดหนึ่ง ที่มักเกิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกันของแต่ละปี โดยส่วนใหญ่มักเกิดอาการเหล่านี้ในฤดูหนาวและฤดูฝน ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กลางคืนยาวนานกว่ากลางวัน อาจทำให้รู้สึก ซึมเศร้า เหนื่อยล้า และอยากแยกตัวเองจากสังคม แม้ว่าอาการต่างๆ มักจะหายไปภายในไม่กี่เดือน แต่ก็อาจส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อความรู้สึกและการทำหน้าที่ต่างๆ ได้นั่นเอง
ทั้งนี้ หากอารมณ์เหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วครู่ก็ไม่ใช่เรื่องผิดปกติอะไร แต่ถ้าเมื่อไรอารมณ์เหล่านี้ เปลี่ยนไปในทางแย่ลง จนส่งผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวัน นั่นอาจหมายความว่า เรากำลังเผชิญอยู่กับ “ภาวะซึมเศร้าตามฤดูกาล” หรือ “ภาวะเครียดจากสภาพอากาศ” ได้
#ความทรงจำในสายฝน
ผลงานศึกษาระหว่างสภาพอากาศกับอารมณ์ชี้ให้เห็นว่า วันที่อากาศไม่ดีนั้นเชื่อมโยงกับอารมณ์โดยทั่วไปที่ขุ่นมัว เศร้าหมองและเงียบเหงามากกว่าวันที่ท้องฟ้าสดใส ผลวิจัยพบว่า วันที่ใจเราขุ่นมัว จะเป็นช่วงที่เราจะมองออกไปข้างนอกน้อยลงและจะอยู่กับตัวเองมากขึ้น ทำให้เราคิดอะไรได้ลึกซึ้งขึ้น จดจำสิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น จนเกิดเป็นความเศร้า เหงาซึมจากสภาพอากาศและสภาพอารมณ์ภายในนั่นเอง
มีงานศึกษาระบุว่าเราอาจจะมีแนวโน้มจดจำได้ดีในวันที่อากาศแย่หรือฝนตกมากกว่าวันที่อากาศดี ในปี ค.ศ.2009 มีการศึกษาตีพิมพ์ในวารสารจิตวิทยา มีชื่อการทดลองว่า ‘อากาศที่ไม่ดีช่วยเรื่องความทรงจำได้ไหม’ สปอยล์—ผลพบว่า ช่วยได้ คือ มีความเชื่อมโยงกัน !
งานศึกษาดังกล่าวใช้การทดลองในวันที่อากาศดีและวันที่ฝนตก โดยผู้วิจัยให้กลุ่มตัวอย่างเข้าไปในร้านค้าและจัดวางวัตถุไว้ 10 อย่างบริเวณจุดจ่ายเงินของร้าน เป็นของแปลกๆ หน่อยที่มักจะไม่อยู่ในร้าน เช่น ของเล่น กล่องไม้ขีด หรือกระปุกหมู งานศึกษาพบว่าผู้คนที่อยู่ภายใต้อากาศขมุกขมัวมีแนวโน้มจะจดจำวัตถุที่ผ่านตาเหล่านั้นได้ดีกว่า บ้างก็สามารถแยกแยะประเภทหรือรายละเอียดได้ดีกว่าด้วย
#เพราะอากาศเศร้า เสียงความคิดจึงดังขึ้น!
นักวิจัยให้ทฤษฎีความสัมพันธ์ของอารมณ์ อากาศ และจิตใจอันซับซ้อนของอมนุษย์ จากงานศึกษากระปุกหมูและของเล่นในร้านขายของชำ โดยทั่วไปแล้วอากาศที่ไม่ดีอาจทำให้หัวใจเรารู้สึกหนักอึ้งขึ้น เกิดอารมณ์เชิงลบได้ง่ายขึ้น คือเรามักจะกลับเข้าไปสู่ความคิดของเราเอง ทบทวนอดีต และได้ยินเสียงในหัวตัวเองดังขึ้นมา มากกว่าวันที่ฟ้าสดใส จนส่งผลให้อารมณ์ของเรานั่นหม่นหมอง เศร้ากว่าปกติ
#ฝนตกทำให้คิดถึง?
ผลการศึกษาจากมหาวิทยาลัยนิวคาสเซิล เมื่อปี 2012 ยังชี้ให้เห็นอีกด้วยว่า เมื่อฝนตกเราจะนึกถึงคนใกล้ตัวและคนที่รักมากขึ้น โดยการทดลองเห็นได้ชัดเจนเลยว่า ในวันฝนตก กลุ่มผู้ทดลองมีอัตราการใช้โทรศัพท์โทรหาเพื่อนและคนในครอบครัว มากขึ้นกว่าปกติ แถมการโทรแต่ละครั้งก็ใช้เวลายาวนาน ซึ่งนั่นอาจแปลได้ว่า สภาพอากาศที่ฝนตกพรำ ๆ ต่อให้ไม่เอื้อให้เราทำกิจกรรมข้างนอก แต่ก็ยังสามารถติดต่อหาคนที่รักได้ เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่างกันมากขึ้น
เมื่อเราอยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งเร้าจากภายนอกลดลง ส่งผลให้เราอยู่กับความคิดของตัวเองมากขึ้น ก็อาจจะทำให้เรารับรู้ความรู้สึกของตนเองมากขึ้น อ่อนไหวมากขึ้น จึงมีความเป็นไปได้ที่จะเกิดความรู้สึกคิดถึงคนที่รักมากขึ้นนั้นเอง
#ฝนตกแล้วขี้เกียจ?
ในเวลาที่ฝนตกหรือช่วงที่มีอากาศเย็นลงนั้น จะทำให้ร่างกายมนุษย์ตอบสนองต่ออุณหภูมิที่ลดต่ำลง ส่งผลให้การไหลเวียนของเลือดต่ำลง ร่างกายเคลื่อนไหวช้าลง ทำให้รู้สึกว่าตัวเองขี้เกียจ แต่ในช่วงฤดูฝน ที่ฝนมักตกต่อเนื่องหลายวันติดกันทำให้ท้องฟ้ามืดครึ้มอยู่ตลอดระยะเวลาที่มีแดดลดน้อยลง ร่างกายก็เลยผลิตเซโรโทนินได้น้อยลง จึงส่งผลให้เราเกิดความรู้สึกเหงาๆเศร้าๆได้นั่นเอง
#howto รับมือกับความเหงาในวันที่ฝนตก
เพิ่มแสงไฟให้สภาพแวดล้อม
เมื่อแสงแดดจากธรรมชาติไม่เพียงพอและลมฝนที่รุนแรงอาจทำให้เราต้องปิดหน้าต่างมิดชิดอยู่ในบ้าน ลองเปิดไฟในบ้านให้สว่างมากขึ้น หรือจะเพิ่มโคมไฟเล็กๆ ข้างโต๊ะหรือเตียง ไฟเหล่านี้จะช่วยกระตุ้นเซโรโทนินที่ทำให้เรารู้สึกอารมณ์ดีขึ้นได้
ออกกำลังกายในบ้าน
การออกกำลังกายเบาๆ ภายในบ้าน หรือทำกิจกรรมอื่นๆ ในบ้านที่ช่วยให้ร่างกายได้ขยับเคลื่อนไหว อย่างการทำความสะอาดบ้าน การเล่นกับสัตว์เลี้ยง เต้นรำ ฯลฯ จะช่วยให้ร่างกายสามารถหลั่งอะดรีนาลีน (Adrenaline) ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกสดชื่นและตื่นตัว
ให้ความสำคัญกับการนอน
ช่วงที่ฝนตกอาจทำให้เรารู้สึกอยากนอนตลอดเวลา ดังนั้นจึงจำเป็นมากที่จะให้ความสำคัญกับเวลานอนของตัวเอง โดยพยายามฝืนไม่นอนกลางวันในช่วงฝนตก และนอนหลับตอนกลางคืนให้เป็นเวลาตามปกติ เพื่อที่จะไม่ให้ร่างกายชินกับการนอนทุกครั้งที่อากาศเปลี่ยน ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้
เพราะสุดท้ายแล้ว ‘ฝน’ ก็คงตกอีกไม่นาน และแสงแดดอันสดใสก็จะกลับมาตามเดิม...
#CMUSTeP #MakeInnovationSimple #CreativeSTeP #rainingday #ฝนตก #ฝนตกไหม #เหงา #ฝนทำให้คนเหงา #หน้าฝน #คิดถึง #sad
อ้างอิงข้อมูล :
Can Rain Cause Depression? Plus, 4 Ways to Relieve Those Rainy